(Japan,2006,Sion sono)
บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์
การเดินทางของโนริโกะ
ฉันกำลังพาตัวฉันออกไปจากโลกแห่งนี้ โลกความเป็นจริงที่แสนจะน่าเบื่อ ฉันกำลังเข้าไปสู่โลกที่ฉันสร้างขึ้นเอง เล่นเอง และฉันก็เลือกมัน
บทความนี้ไม่สปอย์ตอนจบและเนื้อหาของภาพยนต์สามารถอ่านได้
ไม่ได้ดูหนังที่เท่ๆแบบนี้มานานแล้วครับ ซึ่งเป็นหนังที่ผมได้ดูต่อจากเรื่อง suicide club ของผู้กำกับคนเดียวกัน นั่นก็คือ sion sono ที่เล่าเหตุการณ์และเรื่องราวสะท้อนความโหดร้าย รุนแรงของตัวละคร เสียดสีสังคมได้อย่างเจ็บแสบจริงๆ หลายคนบอก Noriko dinner table คือหนังภาคต่อจาก suicide club ผมมองว่ามันมีความเกี่ยวข้องกันอยู่บางส่วน แต่มันไม่ใช่ทั้งหมด หนังพาให้เราไปเห็นเหตุการณ์ในฉากๆหนึ่งของเรื่อง suicide club ที่มันปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้
เนื้อเรื่องเกี่ยวกับ เด็กสาวที่ชื่อ โนริโกะ อายุ 17 ปี หนีออกจากบ้านไปด้วยเหตุผลว่า เธอเบื่อบ้านนอก เบื่อสิ่งแวดล้อมเดิมๆ อยากไปเผชิญชีวิตในแบบใหม่ ชีวิตในเมืองหลวงอย่าง โตเกียว ซึ่งสิ่งนั้นก็พาให้เธอเข้าไปสู๋โลกของบทละคร
หนังพาเราไปพบฉากแรก ที่มีสาวแว่น โนริโกะ ยืนปรากฏตรงหน้าสถานีรถไฟ กำลังเดินทางมุ่งหน้าไปโตเกียว ท่ามกลางผู้คนมากมายที่ เธอไม่รู้จักใครซักคน ซึ่งเธอได้เข้าไปยังเว์ปไซต์นึง เว็ปไซต์นี้ทำให้เธอได้รู้จักกับ ผู้หยิงแปลกหน้าที่ใช้ชื่อนามแฝงว่า ยูเอโอะ 54 station ซึ่งทราบต่อมาก็คือ คุมิโกะ สาสวยที่ทำอาชีพที่แสนจะแปลกประหลาด คือ การรับจ้างเป็นครอบครัวเสมือนจริงให้ผู้คนทั่วไปที่แปลกแยก ต้องการต้องคนมาดูแล เพื่อทำให้ผู้คนได้คลายความเหงาขั่วขณะ ซึ่งผมก็เพิ่งรู้ว่ามันมีอาชีพนี้จริงๆอยู่ด้วยบนโลกใบนี้ ซึ่ง โนริโกะ ก็เปลี่ยนชื่อตามนามแฝงที่เธอใช้ติดต่อกับ คุมิโกะ ว่า มิสุโกะ
จากนั้นเธอก็เดินทางสู่โลกละครที่ยากจะออกได้
ภาวะหลีกหนี ตัวเอง ของ Noriko
ทำไม โนริโกะถึงต้องการเปลี่ยนชื่อตัวเอง ว่า มิสุโกะ ทำไมเธอต้องการหนีออกจากบ้านเพื่อไปที่ให
ม่ ทำไมเธอต้องไปทำงานกับ คุมิโกะ ในอาชีพรับจ้างเป็นครอบครัวหลอกๆ ให้ผู้คน ทำไมเธอไม่อยู่ที่บ้านแล้วใช้ชีวิตกับครอบครัวให้มีความสุข ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น เพื่อที่เธอต้องการจะหลีกหนีตัวเอง หลีกหนีโลกของความเป็นตริงที่แสนจะน่าเบื่อ โดยสร้างโลกใหม่ของเธอขึ้นมาเอง ว่า ฉันคือ มิสุโกะ เปลี่ยนแปลงตัวเอง ทุกอย่างตอนแรกใส่แว่น ตอนหลังไม่ใส่ แต่งตัวให้เปรี้ยวขึ้น ก็เหมือนกับการที่เธอดึงสายเชือกที่อยู่บนเสื้อคลุมของเธอออก เป็นการยืนยันว่า ฉันทิ้งตัวตนเก่าแล้วนะ เพราะเส้นด้ายที่ติดอยู่กับเสื้อคลุม ก็เปรียบเหมือนสิ่งที่ติดตัวเธอมาแต่กำเนิด เมื่อเธอดึงออกไปแล้ว ก็เหมือนกับเธอตัดขาดจากตัวตนเดิม แล้วยอมไปสู่ตัวตนใหม่
ที่มาของชื่อ ยูเอโอะ สถานี 54 ( นามแฝงของ คุมิโกะ )
นั้นมันมาจาก ฉากในหนังเรื่อง suicide club ที่มีเด็กผู้หญิงจำนวน 54 คน ฆ่าตัวตายโดยการเรียงหน้าเข้าแถวกระโดดให้รถไฟทับพร้อมกัน ที่ สถานีรถไฟ
สถาบันครอบครัวที่ขาดการเชื่อมต่อ
หนังยังแสดงให้เห็นถึงครอบครัวที่ล้มเหลวของ ครอบครัว โนริโกะ ผมว่า คนเป็นพ่อนั้นบางครั้งอาจมีอะไรที่ไม่เข้าใจกับลูก หรือมีอะไรที่บกพร่องไป เพียงแต่หนังนั้นไม่ได้ปูเรื่องราวของปัญหาแต่อย่างใด เป็นสิ่งที่ผมคิดว่ามันต้องมีเส้นใยบางๆไรที่หลุดออกจากครอบครัวนี้อยู่บ้าง บวก กับ ภาวะการค้นหาตัวตนของ โนริโกะด้วยที่ทำให้เธอหนีออกจากบ้านไป ซึ่งคนในครอบครัวนี่แหละผมว่า มันต้องเชื่อมต่ออยู่ตลอด ไม่ควรที่จะหยุดหรือ ขาดหายไป เราจะได้ยินประโยคในหนังที่พูดอยู่บ่อยๆ ว่า " คุณได้เชื่อต่อคนในครอบครัวหรือเปล่า คุณได้เชื่อต่อตัวคุณเองหรือเปล่า "
สิ่งที่ผมชอบในหนังตลอดทั้ง สองชั่วโมงครึ่งคือหนังนั้น เล่นอยู่กับประเด็นสถาบันครอบครัว แล้วก็ หนังพาให้ผู้คนลุ้นตลอดว่าจุดจบการเดินทางของ ตัวละคร โนริโกะ จะไปจบที่ตรงไหน หนังเรื่องนี้นั้นไม่ได้ใส่ความรุนแรงในฉากเท่าไหร่นัก เพียงแต่มันออกมาในจิตใจของตัวละคร คนเป้นพ่อ ว่าเสียใจ และ ปวดร้าวขนาดไหนในวันที่ลูกสาวหนีออกไป ฉากที่กระทบกระเทือนใจผมมากที่สุดคงเป็นฉากที่ โนริโกะนั้นเล่นละครสมมุติ เพื่อหลอกตัวเอง ว่า พ่อเค้าคือ คนแปลกหน้า ฉากนั้นทำให้ผมแอบหมั่นไส้ตัวละคร โนริโกะอยู่พอสมควร
สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ " อย่าให้โลกสมมุติมามีบทบาทกับโลกความเป็นจริงของเรา "
คะแนน A