วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความงดงามในความดาษดื่น The Scent of green papaya



                                                   The Scent of green papaya 


                                                   

(Vietnam,1993,Tran Anh  hung)

       
                             " ความงดงามในความดาษดื่น"

   
บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์

ถ้าจะพูดถึงวงการของภาพยนต์เวียดนามนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับความสนใจจากนักดูหนังในวงกว้างซักเท่าไหร่ ถึงขั้นเงียบเชียบ  แต่จะให้เอ่ยถึงหนังดีๆ ที่อยู่ในสายประกวดของประเทศนี้ เท่าที่ผมรู้จักก็มีอยู่บ้าง  อย่างเช่น  Owl and the sparrow  ในปี 2007 หนัง drama ชีวิตของเด็กสาวกำพร้าที่ออกไปเผชิญชีวิตในโลกกว้าง  จวบจนมาถึง หนังเรื่องที่สอง ที่ผมมีโอกาสได้ดูนั่งก็คือ   The Scent of green papaya ถ้าจะแปลตรงๆก็คือ กลิ่นของมะละกอสีเขียว


หนังเรื่องนี่ก่อนที่ผมจะได้ดูนั้น ทราบมาว่า ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ด้วย จึงไม่มีรอ ไปหามาดูทันที แล้วผลลัพธ์ก็คือ  หนังดี ความสวยงามที่อยู่ในความดาษดื่น ที่ผมบอกอย่างนี้ก็คือ หนัง drama ที่บอกเล่าชีวิตของ เด็กสาว เผชิญชีวิต พล๊อตเรืองที่เห็นกันแทบจะทั่วไป  นั้นสุดแสนจะเรียบง่าย แต่ความเรียบง่ายที่ผู้กำกับใส่ลงไปนั้นยังปรุงแต่งผสมความสวยงามของงานด้านภาพ และ ตัวละครได้อย่างน่าหลงใหล จึงทำให้หนังเรื่องนี้นั้นโดดเด่นขึ้นมามันที  แม้เนื้อเรื่องจะไม่มีอะไรมากนัก  และหนังเรื่องนี้นั้นผมทราบต่อมามันคือ งานของผู้กำกับคนเดียวกับ Norwegian wood หนังญี่ปุ่นภาพสวย เรื่องราวหดหู่  ผมจึงไม่แปลกใจอะไรที่งานภาพจะออกมาในลักษณะคล้ายๆกัน


หนังเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของ   มุย เด็กสาวกำพร้า อายุราว 10 ขวบ ที่ต้องมาเป็นคนรับใช้ตั้งแต่เธอยังเด็ก ที่บ้านหลังหนึ่ง  ชีวิตประจำวันของเธอนั้นก็ขลุกอยู่แต่ในครัว คอยทำกับข้าวหุงหาอาหารให้คนในบ้านกิน  เธอเป็นเด็กดีขยันตั้งใจทำงาน ทำให้เป็นที่รักของคนที่นี่  เมื่อเธอโตเป้นสาวเธอจึงย้ายบ้าน ไปเป็นคนรับใช้บ้านของผู้ชายที่มีฐานะร่ำรวย และเป็นชายที่เธอแอบรักครั้งเธอยังเด็ก


ผู้กำกับยังใส่ ประเด็นฐานะทางสังคมของหญิงและชาย แทรกเอาไว้อีกด้วย  หญิงที่ต้องปรนนิบัติ ฝ่ายชาย ฝ่ายชายมีฐานะทางเพศเหนือกว่า  ผู้หญิงต้องทำตัวเป็นแม้บ้านแม้เรือน ทั้งชีวิตของมุยตลอดทั้งเรื่องจะสังเกตุได้ว่าเธอนั้น เป็นฝ่ายรับใช้ ปรนนิบัติตลอดเวลา แม้
สุดท้ายเธอจะได้สามีของนายของตนก็ตาม


The Scent of green papaya จึงเหมาะแก่คนที่ชอบดูหนังชีวิตเด็กสาวใช้ชีวิต  เนือยๆ เอื่อยๆ ภาพสวย เพลินๆ ผมว่าดียิ่งนัก แต่ถ้าใครไม่ถูกจริตกับหนังแบบนี้ ผมว่ามีหลับแน่   





คะแนน A

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ในคืนที่ดาวเต็มท้องฟ้า แต่ใจฉันยังคงว่างเปล่า Starry Starry night

                                                            Starry Starry night
                                                    
                                                        


              "ในคืนที่ดาวเต็มท้องฟ้า แต่ใจฉันยังคงว่างเปล่า" 

                                 (Taiwan,2011,Tom lin )




บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


ระเภท drama+coming of age+fantasy


"  ในวันที่ไม่มีใคร ในวันที่โลกคล้ายจะดูเป็นสีเทา ในวันที่เศร้าหมอง  เพียงแค่เรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า ยังมีโลกอีกใบที่รอเราอยู่  "



บทความนี้เปิดเนื้อหาบางส่วนของภาพยนต์




Starry starry night หนังที่ถูกดัดแปลงมาจากนวนิยายขายดี  ต้องบอกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังไต้หวัน       ส่วนตัวยังไม่ได้อ่าน version หนังสือ  หนังเล่าเรื่องราวของชีวิตเด็กสาว เหมย เด็กสาวอายุ 13  ปี ที่มาจากครอบครัวศิลปิน  ตระกุล (ศิลปะ)

ซึ่งตอนเด็กเธออาศยอยู่บ้านบนภูเขาที่ชนบทกับปู่ของเธอ แต่ต่อมาเมื่ออายุ 13  ปีเธอจึงย้าย
มาอยู่กับพ่อและแม่ในเมือง และก็มาเรียนที่นี่   ซึ่งพ่อและแม่ของเธอนั้นจะทะเลาะกันบ่อยๆ ซึ่งครอบครัวเหมยนั้นดูเหมือนจะไม่อบอุ่น แบบที่เคยเป็น และทำให้กลายเป็นเด็กมีปัญหา ที่นี่ทำให้เธอได้รู้จักกับ   เจย์ เด็กหนุ่มที่ย้ายมาเรียนที่นี่ และเป็นนักเรียนใหม่  ซึ่งทราบต่อมาว่าเจย์ก็เป็นเด็กมีปัญหาทางครอบครัวเหมือนๆกับเธอ       

ทั้งสองจึงออกผจญภัยไปด้วยกัน ในค่ำคืนที่ดาวเต็มท้องฟ้า




หนังเรื่องนี้ ทำให้ผมรู้สึกว่ากำลังหลุดเข้าไปในโลกของนิยาย  ฉาก แฟนตาซีต่างๆ คือจุดเด่นของหนังเรื่องนี้     ทำออกมาได้สวยงามและน่ารัก เหมาะที่จะเป็นหนังที่ดูเพลินๆ แบบไม่ต้องคิดไรมาก   


  

ตัวละคร เหมย เกิดการเรียนรู้ว่าโลกนั้นบางครั้งไม่ได้โหดร้ายเสมอไป เพียงแค่เรามองให้รอบด้านบางครั้งโลกก็ยังมีด้านที่สวยงามของมันอยู่  ชีวิตนั้นต้องเดินต่อไปข้างหน้า สิ่งที่เข้ามาในชีวิตเธอคือปัญหา แล้วเธอก้ต้องเรียนรู้มัน และผ่านมันไปให้ได้    เป็นการก้าวข้ามวัยของเด็กสาวด้วย  

คะแนน B+    
















วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความตายยังคงเรียกหา กับฤดูร้อนของเด็กกลุ่มหนึ่ง Last summer


                                                                   Last summer 
  

(Thailand,2013,ษรัญญู จิราลักษณ์)



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


ฤดูร้อนคงเป็นวัดหยุดพักผ่อนที่ดี ของใครหลายคน  แต่สำหรับเด็กกลุ่มนี้แล้วคงเป็นฤดูร้อนที่ยากจะจดจำ   


บทความนี้สปอย์เนื้อหาพอสมควร 

Last summer   หรือชื่อภาษาไทยว่า ฤดูร้อน ฉันนั้นอยากตาย  หนังเรื่่องแรกของค่ายหนังน้องใหม่      "Talent one"    และก็ถือเป็นก้าวแรกที่น่าประทับใจ   ในเรื่องรายได้อาจจะไม่เท่าไหร่  แต่หนังผีเรื่องนี้มันก็ชนะใจผมไปพอสมควร     ก่อนที่จะดูหนังเรื่องนี้ นั้น  ผมก็แอบหวั่นๆว่า หนังจะไม่ดี ไม่สนุก  เนื่องจาก เพื่อนๆ น้องๆ ที่ไปดูมาบบอกว่าไม่สนุก ไร้สาระบ้าง    หรือบางกระทู้ใน pantip ก็บอก เฉยๆ และก็เอาไปเปรีบยเทียบกับหนังผีเรื่องอื่นๆ ของไทย   แต่สำหรับผมแล้วของแบบนี้ต้องลองดูกับตาเราก่อน  ถึงจะตัดสินได้ แล้วทันทีที่ได้ดูจบ บอกเลยว่าผมคงมีความคิดเห็นขัดแย้งกับ คนที่บอกว่าหนังไม่ดี ไม่สนุก   ผมกลับชอบ และชอบเอามากๆ     

หนังเล่าถึงเรื่องราวของ วัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง  4  คน  ไปเที่ยวทะเลในช่วงฤดูร้อน      แล้วมีคนหนึ่งในกลุ่ม   จอย  สาวสาวที่เป็นดาราดาวรุ่ง         โพสใน facebook ของ  สิงห์ (เก้า จิรายุ)  ว่า  " อยากตาย "  เบื่อชีวิต     จากนั้นทั้งหมดจึงนัดกันไปเที่ยว     สิงห์ นั้น เป็นแฟน กับ จอย     ส่วนอีกสองคน  คือ  มีน (ปันปัน)     และ     เพื่อนของสิงห์อีกคน       และแล้วก็มีอุบัติเหตุทำให้ จอย  ตาย   ด้วยจากเป็นโรคหอบแล้วก็ชัก   ทั้งหมดจึงเอาศพของจอยไปทิ้งที่ทะเล   แล้วเรื่องราวหลอนๆ ก็ตามมา                                                                       

สิ่งที่หนังทำได้ดีเอามากๆคงเป็นการลำดับเรื่องราว ที่หนังไม่จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องกันแบบ 1 2 3  จบ   แต่เล่าเรื่องราวแบบ ค่อยๆ คลี่คลายปมทีละเล็กจนเหมือนเฉลยให้เห็นถึง  สาเหตุของเรื่องราวทั้งหมด   อาจจะยกเอาเรื่องราวการตายของ ตัวละคร  มาก่อน จากนั้นก็ค่อยไปถึงสาเหตุใหญ่ๆ     ซึ่งผมคืดว่านี่แหละคือเสน่ห์ของหนังผีในรูปแบบใหม่   


จอย ตัวละคร ที่ผมคิดว่า   เป็น   จุดศนย์กลางของเรื่องราวทั้งหมด         


ถ้าสังเกตุดีๆ หนังเรื่องนี้ จะแบ่งออกเป็น 3 part ใหญ่ๆ โดยที่หนังไม่มีความจำเป็นต้องแบ่งให้มา  แต่ต้องการให้คนดูแบ่งเหตุการณ์ 3  ช่วงใหญ่ๆ โดยทั้งหมดมันมีความเชื่อมโยงกับ ตัวละคร  จอย  และ คนอื่นๆในเรื่องราวทั้งหมด   ช่วงแรกพูดถึง การไปเที่ยวทะเลของเด็กวัยรุ่น   และการตายอันน่าสยดสยองของจอย   และการปล่อยทิ้งเรื่องราวโดยให้คนดูอ้าปากค้างว่า  " ทำไมจอยถึงหนีออกมา และเบื่อชีวิต อยากตาย"  ช่วงที่สอง  พูดถึงความสัมพันธ์ของ  จอย  กับ  มีน  เพื่อสาวสองคนที่มีความผูกพันธ์กันมากแต่ลึกๆ มีการอิจฉาแอบแฝงอยู่ของ ตัวละคร  มีน  ที่เดินตาม จอยมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเด่นดัง และความสวย     ซึ่งผมมองว่าความอิจฉามันเป็น เรื่องธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์ของเรามาซึึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไร   และ ช่วงสุดท้าย   ผมมองว่า  เป็นสาเหตุใหญ่ของเรื่องราวทั้งหมด  หนังได้พูดถึงปัญหาการเลี้ยงดูขงอครอบคัวจอย  การเลี้ยงดูแบบคนเป็นแม่กดดันลูกเกินไป และต้องการให้ลูกเป็นที่หนึ่งตลอดไม่ว่าเรื่องใด   โดยลึกๆ ไม่คำนึงถึงจิตใจลูก   รวมไปถึงการเลี้ยงดูแบบรักลำเอียง  แม่ไปสนใจลูกสาว คนเป็นพี่ มากกว่า ลูกชายคนเล็ก อีกคน      ทำให้ลูกชายคนเล็ก (ติ่ง)  เกิดความน้อยใจ และ อิจฉา จำทำให้ปัญหาทั้งหมดตามมา          ถ้าใครดูท้ายๆเรื่องจะเข้าใจเลยว่า ทำไมจอยถึง  อยากตาย   ทั้ง 3 part มันทีความเกี่ยวข้องกับจอยหมด   แฟน   เพื่อน  ครอบครัว  ผมถึงบอกว่า จอยคือ จุดศูนย์กลางของเรื่องราวทั้งหมด


นอกจากความน่ากลัว ความหลอนของหนังผี ที่คนดูจะได้รับแล้ว  ผมมองว่า  หนังสะท้อนปัญห าครอบครัวการเลี้ยงดูได้อย่างดีเยี่ยม        ว่าใครกันแน่ที่ทำให้เรื่องราวทั้งหมดมันเป็นแบบนี้   แม้กระทั่ง ความคึกคะนองของวัยรุ่น วัยที่ผมคิดว่าลองผิดลองถูก ทำไปเพราะไม่ได้ใส่ใจอะไร  พอมีปัญหาหรือเรื่องราวร้ายๆตามมา กับทำอะไรไม่ถูก เลยหาทางออกแบบผิดๆ  

สิ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ของหนังเรื่องนี้นั้น คงเป็นเรื่อง ของฉาก มุมกล้อง แสงต่างๆ ทำออกมาได้สวยงดงามจริงๆ  ซึ่งผมก็แปลกใจนิดนึงว่า  มันมีหนังผีไทยไม่กี่เรื่องที่ฉาก และมุมกล้องจะถ่ายออกมาได้สวยแบบนี้       ซึ่ง last summer ก็แสดงให้เห็นแล้ว


ความน่ากลัวของหนังเรื่องนี้  อาจจะดู ดร็อบลงไปนิดนึง  เนื่องจากผมคิดว่า มันไม่น่ากลัวและตกใจเท่าที่ควร   ถ้าหนังทำออกมาได้หลอนและสยองก็ว่านี้คงจะ เพอเฟ็กต์กว่านี้อีก อาจเป็นเพราะว่าความเป็นหนังผีที่ ผู้กำกับคงยัดความdrama ออกมา  เยอะมากกว่าจะให้ดูมันเป็นหนังผีจ๋า     แต่จะว่าไปนี่คือก้าวแรกของ ค่ายหนังน้องใหม่ และผมก็มองว่า มันคือก้าวแรกที่ไม่ธรรมดา        องค์ประกอบโดยรวมถือว่าเป็นหนังผีวัยรุ่นที่น่าดูอีกเรื่อง    

                                                                                       
คะแนน  B+
    

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

การเดินทางของโนริโกะจากชีวิตจริง ไปสู่โลกของละคร Noriko dinner table

                                                     Noriko Dinner table 




(Japan,2006,Sion sono)



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์ 


                                   การเดินทางของโนริโกะ

ฉันกำลังพาตัวฉันออกไปจากโลกแห่งนี้ โลกความเป็นจริงที่แสนจะน่าเบื่อ ฉันกำลังเข้าไปสู่โลกที่ฉันสร้างขึ้นเอง  เล่นเอง และฉันก็เลือกมัน   


บทความนี้ไม่สปอย์ตอนจบและเนื้อหาของภาพยนต์สามารถอ่านได้

ไม่ได้ดูหนังที่เท่ๆแบบนี้มานานแล้วครับ  ซึ่งเป็นหนังที่ผมได้ดูต่อจากเรื่อง  suicide club ของผู้กำกับคนเดียวกัน นั่นก็คือ sion sono ที่เล่าเหตุการณ์และเรื่องราวสะท้อนความโหดร้าย รุนแรงของตัวละคร  เสียดสีสังคมได้อย่างเจ็บแสบจริงๆ  หลายคนบอก Noriko dinner table คือหนังภาคต่อจาก suicide club  ผมมองว่ามันมีความเกี่ยวข้องกันอยู่บางส่วน แต่มันไม่ใช่ทั้งหมด   หนังพาให้เราไปเห็นเหตุการณ์ในฉากๆหนึ่งของเรื่อง suicide club  ที่มันปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้  

เนื้อเรื่องเกี่ยวกับ  เด็กสาวที่ชื่อ โนริโกะ อายุ 17 ปี หนีออกจากบ้านไปด้วยเหตุผลว่า เธอเบื่อบ้านนอก เบื่อสิ่งแวดล้อมเดิมๆ อยากไปเผชิญชีวิตในแบบใหม่ ชีวิตในเมืองหลวงอย่าง โตเกียว  ซึ่งสิ่งนั้นก็พาให้เธอเข้าไปสู๋โลกของบทละคร  


หนังพาเราไปพบฉากแรก ที่มีสาวแว่น โนริโกะ ยืนปรากฏตรงหน้าสถานีรถไฟ  กำลังเดินทางมุ่งหน้าไปโตเกียว ท่ามกลางผู้คนมากมายที่ เธอไม่รู้จักใครซักคน  ซึ่งเธอได้เข้าไปยังเว์ปไซต์นึง เว็ปไซต์นี้ทำให้เธอได้รู้จักกับ ผู้หยิงแปลกหน้าที่ใช้ชื่อนามแฝงว่า  ยูเอโอะ 54 station  ซึ่งทราบต่อมาก็คือ   คุมิโกะ สาสวยที่ทำอาชีพที่แสนจะแปลกประหลาด คือ การรับจ้างเป็นครอบครัวเสมือนจริงให้ผู้คนทั่วไปที่แปลกแยก  ต้องการต้องคนมาดูแล  เพื่อทำให้ผู้คนได้คลายความเหงาขั่วขณะ   ซึ่งผมก็เพิ่งรู้ว่ามันมีอาชีพนี้จริงๆอยู่ด้วยบนโลกใบนี้     ซึ่ง โนริโกะ ก็เปลี่ยนชื่อตามนามแฝงที่เธอใช้ติดต่อกับ คุมิโกะ ว่า  มิสุโกะ

จากนั้นเธอก็เดินทางสู่โลกละครที่ยากจะออกได้

                                            ภาวะหลีกหนี  ตัวเอง ของ Noriko


ทำไม โนริโกะถึงต้องการเปลี่ยนชื่อตัวเอง ว่า  มิสุโกะ ทำไมเธอต้องการหนีออกจากบ้านเพื่อไปที่ให
ม่  ทำไมเธอต้องไปทำงานกับ คุมิโกะ ในอาชีพรับจ้างเป็นครอบครัวหลอกๆ ให้ผู้คน ทำไมเธอไม่อยู่ที่บ้านแล้วใช้ชีวิตกับครอบครัวให้มีความสุข     ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น   เพื่อที่เธอต้องการจะหลีกหนีตัวเอง  หลีกหนีโลกของความเป็นตริงที่แสนจะน่าเบื่อ โดยสร้างโลกใหม่ของเธอขึ้นมาเอง ว่า ฉันคือ มิสุโกะ  เปลี่ยนแปลงตัวเอง ทุกอย่างตอนแรกใส่แว่น ตอนหลังไม่ใส่  แต่งตัวให้เปรี้ยวขึ้น    ก็เหมือนกับการที่เธอดึงสายเชือกที่อยู่บนเสื้อคลุมของเธอออก เป็นการยืนยันว่า ฉันทิ้งตัวตนเก่าแล้วนะ  เพราะเส้นด้ายที่ติดอยู่กับเสื้อคลุม ก็เปรียบเหมือนสิ่งที่ติดตัวเธอมาแต่กำเนิด เมื่อเธอดึงออกไปแล้ว ก็เหมือนกับเธอตัดขาดจากตัวตนเดิม แล้วยอมไปสู่ตัวตนใหม่    

                              ที่มาของชื่อ  ยูเอโอะ สถานี 54 ( นามแฝงของ คุมิโกะ )

นั้นมันมาจาก ฉากในหนังเรื่อง suicide club ที่มีเด็กผู้หญิงจำนวน 54  คน ฆ่าตัวตายโดยการเรียงหน้าเข้าแถวกระโดดให้รถไฟทับพร้อมกัน ที่ สถานีรถไฟ      


                                           สถาบันครอบครัวที่ขาดการเชื่อมต่อ  

หนังยังแสดงให้เห็นถึงครอบครัวที่ล้มเหลวของ ครอบครัว โนริโกะ  ผมว่า คนเป็นพ่อนั้นบางครั้งอาจมีอะไรที่ไม่เข้าใจกับลูก หรือมีอะไรที่บกพร่องไป   เพียงแต่หนังนั้นไม่ได้ปูเรื่องราวของปัญหาแต่อย่างใด เป็นสิ่งที่ผมคิดว่ามันต้องมีเส้นใยบางๆไรที่หลุดออกจากครอบครัวนี้อยู่บ้าง บวก กับ ภาวะการค้นหาตัวตนของ โนริโกะด้วยที่ทำให้เธอหนีออกจากบ้านไป    ซึ่งคนในครอบครัวนี่แหละผมว่า มันต้องเชื่อมต่ออยู่ตลอด ไม่ควรที่จะหยุดหรือ ขาดหายไป เราจะได้ยินประโยคในหนังที่พูดอยู่บ่อยๆ ว่า   " คุณได้เชื่อต่อคนในครอบครัวหรือเปล่า  คุณได้เชื่อต่อตัวคุณเองหรือเปล่า  "  

สิ่งที่ผมชอบในหนังตลอดทั้ง สองชั่วโมงครึ่งคือหนังนั้น เล่นอยู่กับประเด็นสถาบันครอบครัว  แล้วก็ หนังพาให้ผู้คนลุ้นตลอดว่าจุดจบการเดินทางของ ตัวละคร โนริโกะ จะไปจบที่ตรงไหน   หนังเรื่องนี้นั้นไม่ได้ใส่ความรุนแรงในฉากเท่าไหร่นัก เพียงแต่มันออกมาในจิตใจของตัวละคร คนเป้นพ่อ ว่าเสียใจ และ ปวดร้าวขนาดไหนในวันที่ลูกสาวหนีออกไป      ฉากที่กระทบกระเทือนใจผมมากที่สุดคงเป็นฉากที่ โนริโกะนั้นเล่นละครสมมุติ เพื่อหลอกตัวเอง  ว่า พ่อเค้าคือ คนแปลกหน้า  ฉากนั้นทำให้ผมแอบหมั่นไส้ตัวละคร  โนริโกะอยู่พอสมควร      

สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ   " อย่าให้โลกสมมุติมามีบทบาทกับโลกความเป็นจริงของเรา "

     
คะแนน  A




  


  

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ตีแผ่ด้านมืดของสังคมวัยรุ่นญี่ปุ่น Suicide club

                                         Suicide club 





" มุมมืดของวัยรุ่นญี่ปุ่น  กับ ลัทธิการฆ่าตัวตายหมู่ ! "

(Japan,2000,Sion sono )





บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนต์ 


วันนี้ blog  มาค่อนข้างจะแปลกตาซักหน่อยสำหรับหนังที่ผมอยากจะแนะนำ เนื่องจากไม่ได้เขียนถึงหนังโหดมานานมากแล้วปกติ ก็ไม่เท่าไหร่กับหนังแนวนี้   แต่เรื่องนี้มันอดไม่ไหวจริงๆก็เลยอยากจะเขียนถึง  เป็นงานของ Sion Sono   ผู้กำกับที่ได้ขึ้นชื่อว่า  ถนัดการทำหนังประเภทสะท้อนด้านมืดของสังคม แปดเปื้อนไปด้วยความเลวร้าย และฉากรุนแรงของตัวละคร    กับหนังเรื่องนี้                  สุดโหด แบบโหดเลือดสาด ก็ว่าได้กับ  มีชื่อเรื่องว่า  Suicide club  หรือเรียกอีกชื่อว่า  Suicide circle  เอาง่ายๆแล้วแต่คนจะเรียกมันก็เรื่องเดียวกัน  

   
Suicide club ว่าด้วยเรื่องราวด้านมืดความบิดเบี้ยวของสังคมวัยรุ่นกับการฆ่าตัวตายหมู่   ดูเหมือนว่าจะทำเป็นลัทธิ และ แฟชั่นซะด้วย  โอ้    ทำไปเพื่ออะไร หลายคนอาจสงสัย    หนังไม่มีการปูพรมเรื่องราวปัญหาต่างๆ มาก่อนว่าทำไม วัยรุ่นและผู้คนถึงฆ่าตัวตายกันจำนวนมาก และเป็นเพราะอะไร  

หนังเปิดเรื่องก็แทบจะปิดตาดูกันเลยทีเดียว  กับฉากแรกของภาพยนต์ที่ผมว่ามันเป็นฉากที่น่ากลัวและสยองขวัญ ถึงขั้นจดจำและติดตามถึงทุกวันนี้   นั่นคือ ฉากที่เด็กนักเรียนหญิงจำนวน 50 กว่าคนไปที่สถานีรถไป เพื่อกระทำบางอย่าง   ก่อนที่พวกเธอจะเรียงหน้ากระดานและจับมือประสานกันเป็นหนึ่งเดียว แล้วก็ร้องเพลง นับ ถอยหลังก่อนที่จะกระโดดให้รถไฟชนตายกันชนิดเลือดสาด   เต็มสถานี หน้าตาเฉย ท่ามกลางความมึนงงและสยดสยอง ของ ผู้คนที่อยู่ในละแวกนั้น               โอ้พระเจ้า ทำไมมันโหดเช่นนี้  ฉากนั้นผมถึงกับงงและอ้าปากค้างว่า ทำไปเพื่ออะไรวะ    ดูอยู่ก็คลิกเมาท์แบบมือไม้อ่อนแทบหมดแรงเพราะความเสียว   และไม่อยากจะเชื่อในสิ่งที่ผมเห็นในภาพยนต์   นั่นแค่น้ำจิ้มเท่านั้นในหนังตลอด 1 ชั่วโมงครึ่ง  แต่หนังยังเต็มไปด้วยความรุนแรง และสยดสยองอีกหลายฉาก นับไม่ถ้วน  และ มาชนิดแบบคาดไม่ถึงทุกฉาก จู่ๆก็จะโผล่มาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยเรียกว่า เผลอแพบเห็นเลือดสาดจออีกแล้ว   เอาว่าอยากให้ไปดูกันมากกว่านี้      


ประเด็นหลักของหนังผมมองไปที่หนังต้องการจะสื่อให้เห็นด้านมืดของสังคมวัยรุ่นญี่ปุ่นยุค 2000   ในยุคที่เต็มไปด้วย เทคโนยี  สิ่งใหม่ๆ social network  internet   แฟชั่น  ดนตรี pop  ดารา  สิ่งเหล่านี้นั้นล้วนครอบงำผู้คนให้หลงและเป็นทาสแบบโงหัวไม่ขั้น ถึงขนาดที่ต้องฆ่าตัวตายตาม  ดาราที่ตัวเองรักและชื่นชอบ เนื่องจากเห็นว่าการฆ่าตัวตายเป็นกระแสแฟชั่นของชาวญี่ปุ่น    จึงทำตามคิดว่าเท่แต่เปล่าเลย  ชวิตทั้งชีวิตคุณเสียไปเพราะต้องการแค่ที่จะถูกเรียกว่า  พวกลัทธิ  suicide club 

หนังยังสร้างตัวละครตัวหนึ่งขึ้นมาเพื่อหลวกหลวงคนดู คือ ชายผมทองผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าของเว็บไซต์ sucide club  เว็บไซต์รวมพลคนอยากตาย    ด้วยเหตุผลเพราะอยากดัง     สุดท้ายก็ถูกจับไป
ผมมองอีกว่า  ตัวละครตัวนี้ไม่หน้าที่จะสร้างมันขึ้นมา และก็ไม่จำเป็นกับเรื่องราวของหนังเท่าไหร่  คือ ไม่มีก็ยังได้   จึงทำให้เป็นจุดเสียของหนังเรื่องนี้นิดนึง     แถมยังเพิ่มความงงให้กับคนดูซะเปล่าๆ      ไม่นั้นหนังจะ perfect มากกว่านี้อีก   แต่แค่นี้ก็เพอเฟกต์และ              


วงดนตรี dessert  ที่มาของเรื่องราวทั้งหมด


ในเรื่องเราจะเห็นว่ามีวง girl group ที่ชื่อว่า dessert ที่แปลว่า ของหวาน   ร้องเพลง pop ใสๆ คิกขุอาโนเนะน่ารัก ซึ่งขัดแย้งกับเรื่องราวความโหดร้ายของหนัง    ที่ โซโนะตั้งใจให้ออกมาในรูปแบบความขัดแย้ง ขัดแย้งยังไง   เหล่าตัวละครนักเรียนหญิงใสๆ ดูภายนอกแล้วบอบบาง อ่อนหวานเหมือนขนมหวาน เหมือนชื่อของวงดนตรี pop ที่ฮิตกันในหมู่วัยรุ่น   แต่ใครจะไปคิดว่าเบื้องลึกพวกเธอกับกล้ากระทำการฆ่าตัวตายอันหน้าสยอดสยองและโหดเหี้ยม  ซึ่งขัดกับลุคเป็นอย่างมาก    ซึ่งผมมองว่าถ้าใช้วง rock นั้น จะธรรมดาและเดาทางง่ายไปหน่อย   ความขัดแย้งนี่แหละที่ผมมองว่ามันคือเสน่ห์อย่างนึงในหนังเรื่องนี้               อีกทั้งวง dessert ยังหมายถึง  ความเป็น pop idol ที่วัยรุ่นในเรื่อง  ชืนชอบ หลงใหล และนับถือ  

การที่คนดูหนังเรื่องนี้บางคนก็พูดว่าหนังอะไรวะ  น่ากลัวแต่ฉาก  แต่ไร้สาระ มีแต่เรื่องฆ่าตัวตาย ไม่เห็นสร้างสรรค์อะไรเลย       ผมอยากจะบอกว่า  นั้นเป็นแค่เปลือกที่คุณเห็น  และคุณก็พลาดหนังดีๆเหล่านี้ไป      ถ้ามองให้ลึกแล้วหนังหยิบเอาประเด็นใกล้ตัวของมนุษย์เราที่หลายคนอาจมองข้าม  ปัญหาการฆ่าตัวตายที่หลายคนสงสัย ความบิดเบี้ยวของสังคมมนุษย์ทุกวัน  โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น  ผมมองว่าคนญี่ปุ่นมีอะไรแปลกๆ และรุนแรงแบบชนิดเราคาดไม่ถึง ผมมองว่ามันน่าสนใจดี และ โซโนะก็ทำออกมาในชนิดที่เรียกว่า ดีจนน่าแปลกใจ  


จึงไม่แปลกใจเลยที่หนัง เรื่องนี้ได้รับรางวัลมากมายจากเทศกาลหนังนานาชาติ    และเป็นหนึ่งเรื่องหนังโหดๆที่ไม่ควรจะพลาดด้วยประการทั้งปวง 


       ปล. คำเตือนหนังเรื่องนี้ไม่เหมาะแก่ผู้คนจิตอ่อนและกลัวเลือดไม่นั้นอย่าหาว่าผมไม่เตือน     แค่ถ้าใครชอบความโหดเหี้ยม เลือดสาดผมของแนะนำให้ไปหามาดู                                                                                                                                                             
                                                  
คะแนน  A                                                                                        
                                                       
                                                                                                                        

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

จิตใต้สำนึก " รึทั้งหมดเป็นแค่ฝันไป " พลอย

                                                                     พลอย 
                                                


                                                   
                                     (Thailand,2007, เป็นเอก รัตนเรือง )

จิตใต้สำนึก  " รึทั้งหมดเป็นแค่ฝันไป "




บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์

บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนต์ 

พลอย  อีกหนึ่งผลงานของ เป็นเอก รัตนเรือง งานลำดับที่ 6    ที่ยังคงสไตล์หนัง art อยู่ มาคราวนี้  

เลือกที่จะเล่าเรื่องราว ของ  สามี ภรรยาคู่หนึ่ง  กับ ความรักที่มาถึงจุดอิ่มตัว  ความรักที่รอวันหมดอายุ เนื่องจากอยูด้วยกันมา 7 ปี  จึงเกิดคำถามตามมาว่า  ความรักพอนานไปมันมีวันหมดอายุด้วยเหรอ คงไม่ต่างอะไรกับ " อาหารกระป๋องที่มีวันบอกหมดอายุ       แต่ความรักไม่มีวันบอก ต้องลุ้นกันเอาเอง"   คือหนึ่งประโยคที่หลุดจากปากของตัวละคร  วิทย์ ( สามี)   ตัวละครอีกตัวคือ เด็กสาวที่ ชื่อ พลอย  เด็กสาวผมฟู เซอร์ สภาพที่เลื่อนลอย  มารอแม่อยู่ตรงร้านบาเทนเดอร์ ข้างล่างคอนโด ของ วิทย์ และ แดง             แดง  ภรรยา ผู้สงสัยในพฤติกรรมของสามี   และมักจะตั้งคำถามในหัวตลอดเวลาว่า   ความรักที่ได้รับมันน้อยลงจริงหรือเปล่า  จนกลายเป็นความหวาดระแวงต่างๆ   จนเก็บไปฝันต่างๆนาๆ                                                                                                                   

การพบกันโดยบังเอิญของเด็กสาว พลอย   และ วิทย์     

การพบกันของตัวละครสองคนนี้ นำไปสู่เรื่องราวทั้งหมด ซึ่งยากที่จะบอกทั้งหมดมันมาจากเรื่องจริงหรือแค่ความฝัน   หรือเป็นความจริงกึ่งฝัน  ผมว่าน่าจะอย่างหลังซะมากกว่า คงไม่ใช่ความฝันซะทีเดียวเลย                 


เด็กสาว คุย กับชายแปลกหน้า   เธอขอบุหรี่ และ ดูด  เธอเอาเพลงให้เขาฟัง    การกระทำของตัวละคร เด็กสาว พลอย  แสดงออกให้เห็นภาวะที่ ตัวละครกำลังเจริญเติบโตในแบบวัยรุ่น วัยอยากรู้อยากเห็น  วัยลองผิดลองถูก    
ซึ่งเด็กสาวนั้นบางครั้งก็เป็นไปได้  อาจเป็นแต่จินตนาการของ แดง  ที่สร้างตัวละครตัวนี้ขึ้นมาในรูปแบบความฝัน   ความกังวลต่างๆ ที่กลัวว่าสามีจะมีผู้หญิงอื่น      ทำให้จิตใต้สำนึกของแดงนั้นระเบิดออกมาในรูปแบบความฝัน กึ่งหลับกึ่งตื่น  จริงบ้างฝันบ้าง     

ความฝันในสภาวะที่  เด็กสาว พลอย เห็น    ตัวละคร  บาร์เทนเดอร์หนุ่ม (อนันดา)  กับ  แม่บ้านโรงแรม   มีเซ็กซ์กัน ตลอดทั้งเรื่อง  เป็นจิตใต้สำนึกของ เด็กสาวพลอย ที่อยากจะเรียนรู้ความรักในรูปแบบวัยุร่น  เร่าร้อน  สภาวะโหยหา  ซึ่ง ตัวละครสองคน นี้ ไปขัดแย้ง และ ไปเปรียบเทียบ กับ ความรักของคู่ สามี และ ภรรยา ที่อยู่ในช่วงหมดโปร ไม่มีเซ็กต์มานาน ไม่โหยหายต่อกัน    อีกทั้งตัวละคร เด็กสาวพลอย นอกจากจะมาทำให้ช่องว่างความสัมพันธ์ ของ สามี ภรรยา       ห่างกัน  แต่ลึกๆ  เด็กสาวก็ได้ทำให้  สามี  รู้ว่า แท้จริงความรักอยู่นานไปมันก็ไม่จำเป็นต้องหมดอายุ เสมอไป   แต่ก็เกิดคำถามตามมาอีกว่า   มันจำเหรอเป็นที่จะต้อง มีเซ็กต์ด้วยกันตลอดเวลา     อาจไม่ต้องแต่ไงก็ของให้รักและเข้าใจ
กันไว้ก็พอ 
          

เรื่องราวที่  แดง  ภรรยา ถูกหนุ่มแปลกหน้าอีกคน  ชวนไปบ้าน  แล้วถูกข่มขืน เป็นความฝันในสภาวะ ที่ สามีกังวลว่า ภรรยาจะหายไป  และเก็บไปฝัน ต่างๆนาๆ    จนถึงขั้นร้องไห้ในอ่างอาบน้ำ             ก่อนที่สุดท้ายแล้วเขาทั้งคู่ก็ยังรักและอยู่ด้วยกันเหมือนเดิม                                                                                                   
ตัวละครทั้งสามมันอยู่ในสภาวะ ที่จิตใต้สำนึกแต่ละคน  เกิดขึ้นทั้งหมด        แต่ออกในจากสาเหตุที่ต่างกัน   ภรรยา ระแวง น้อยใจ      สามี  ลึกๆ เป็นห่วง      เด็กสาว   อยากรู้อยากเห็นในสภาวะเซ็กต์แบบวัยรุ่น  เร่าร้อน            


เบอร์โทรศัพท์ปริศนาของ ผู้หญิงที่ชื่อ น้อย  

สิ่งหนึ่งในหนังเราจะเห็นตอนต้นเรื่อง ที่ แดง ภรรยา  ค้นกระเป๋าแล้วเจอเบอร์โทรศัพท์ของหญิงสาวน้อย นั้นก็เป็นไปได้ว่า เกิดจาก จิตใต้สำนึกความหวาดระแวงของภรรยาที่กลัวสามีไปมีผู้หญิงอื่น    เราจะรู้เลยว่า จะมีฉากตนอที่ มีผู้หญิงน้อยมาเคาะประตูถามถึง วิทย์ สามี  แล้ว แดงไป เปิดประตู บอกรอซักครู ก่อนที่  ผู้หญิงคนนั้นจะหายไป เป็นการบอกว่าผู้หญิงชื่อน้อยอาจไม่มีอยู่จริง  ในโลกความเป็นจริง   เพียงแค่มาจากจิตใต้สำนึก      



การหายไปของเด็กสาว พลอย  นำไปสู่คำถามของใครหลายคนที่ดูเรื่องนี้รวมทั้งผม    
เป็นไปได้สองอย่างว่า   

อย่างแรก        สภาวะจิตใต้สำนึกของ แดง ภรรยา หมดไป  เด็กสาวก็หายไปด้วย คล้ายกับการบอกว่า เด็กสาวพลอย ไม่มีอยู่จริงใน โลกความเป็นจริง มันแค่จินตนาการความกังวลที่ แดงสร้างขึ้นมา         

อีกอย่าง        เด็กสาวพลอย  มีอยู่จริง  แต่เธอมารอแม่จนได้เวลาแล้วก็เดินออกไป  โดยไม่บอกไม่กล่าว 
ซึ่งผมก็เชื่่ออย่างหลังมากกว่า        แต่สไตล์หนังของ เป็นเอก นั้นจับทางยากและเหนือการคาดเดาซึ่งอาจจะให้คนดูไปตีความเองอีกที หนึ่ง  ว่าคุณเชื่ออย่างไหนมากกว่ากัน                                                                                                        

สิ่งที่ชอบคือการวางโครงเรื่องเป็นการทับซ้อนเหตุการณ์ ของตัวละครสามคน     โดยผมว่ามันเป็นเล่าเหตุการณ์แค่คืนๆเดียว 

ฉากต่างๆ มุมกล้อง ยังคงน่าสนใจ และดึงดูดผู้ชม  ถ้าใครดูหนังของพี่ เป็นเอก รับรองว่ามุมกล้องฉาก art ๆ ยังมีให้เห็นแน่ๆ       อย่างเช่นเรื่องนี้  ผมชอบ ฉากที่เด็กสาวพลอยนั่งอยู่ริมขอบหน้าต่างใหญ่     แล้วมองออกไป วิวตึกสูงๆ  ผมชอบฉากนั้นมาก  เวิ้งว้างดูพิลึก
  

"  พลอย นั้นอาจเป็นแค่  เด็กสาว  จินตนาการของจิตใต้สำนึกของ ภรรยา  ที่สร้างขึ้นมา หรื ออาจมีอยู่จริง ก็เป็นได้ "

คะแนน  B+




                                                                                        


วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ห้วงอารมณ์ของความฟูมฟาย และ ภาวะหัวใจแตกสลาย Norwegian wood

                                     Norwegian wood
                                                
                                          
                                              

                                            
                               (Japan,2010,Tran Anh hung )




บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


ห้วงอารมณ์ของความฟูมฟาย  และ ภาวะหัวใจแตกสลาย"

บทความนี้พูดถึงส่วนสำคัญของภาพยนต์ 

ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดของหนังผมขอพาไปรู้จักกับตัวละครหลักๆในเรื่องก่อน 


นาโอโกะ หญิงสาว ที่สับสน และถูกคนรักทิ้งไว้อยู่เบื้องหลังของความโดดเดี่ยว คนรักของเธอต้องมาตายจากไปอย่างไม่มีวันกลับ ซึ่งพาเธอดำดิ่งสู้ห้วงอารมณ์ความโศกเศร้าอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน  


วาตานาเบะ  ชายที่มอบความรักให้ไปด้วยหัวใจที่บริสุทธ์ซึ่งเขาไม่มีวันได้กลับมาจากเธอเลยแม้แต่น้อย  ซึ่งก็ฟูมฟายไม่แพ้กัน



กิซึกิ   ชายที่ทิ้งนาโอโกะไว้อยู่เบื้องหลังของความเจ็บปวด  และเขาก็ตายจากไปแบบไม่มีวันกลับ      เพื่อหลีกหนีอะไรบางอย่างในโลกใบนี้




มิโดริ    หญิงสาวที่เป็นด้านสว่างที่จะพา วาตานาเบะออกไปจากวงจรชีวิตที่สับสนเหล่านี้




นั่นคือตัวละครหลักๆทั้งสีในหนังเรื่อง  Norwegian wood  หนังญี่ปุ่นสุดแสนฟูมฟายเท่าที่ผมดูมา มันอาจไม่ไช่อารมณ์แบบฉากโหด หรือ ฉากรุนแรง อย่างเช่นหนัง Himizu หรือเรื่องอื่นๆ แต่ความฟูมฟายมันออกมาจากตัวละครในเรื่องนี้     หนังพูดถึงความรักในแบบ การพรัดพราก การตายจากของคนรัก  ทั้งสามเป็นเพื่อนสนิทกัน นาโอโกะ เป็นแฟนอยู่กับ กิสึกิ (เพื่อนพระเอก)  โดยมี วาตานาเบะ (พระเอก) เป็นเหมือนคนแอบชอบ นาโอโกะ(นางเอก) อยู่ฝ่ายเดียว แต่ทั้งสามเป็นเพื่อนรักกันจึงไปไหนมาไหนด้วยกัน  ผมขอเรียกว่า  วาตานาเบะก็เหมือนก้างขวางขอหน่อยๆครับ   แต่เวลาต่อมา กิสึกิ ก็ดันมาฆ่าตัวตายโดยการ เอาแก๊ซพิษฉีดรมตัวเองในรถยนต์   ผมก็ไม่รู้ว่าทำไปเพื่อส้นตีนอะไรวะ  งงอยู่มาก เอาเป็นว่า นางเอกฟูมฟายมากเมื่อรู้ว่าเขาตาย   วาตานาเบะก็ย้ายไปโตเกียว แล้วไปเจอกับ นาโอโกะ ในสภาพที่สับสนเป็นอย่างมาก  เธอกับเขามีอะไรกันในคืนวันเกิดของเธอเมื่ออายุครบ  20  ปี   ก่อนที่เวลาต่อมา วาตานาเบะจะพบกับ ผู้หญิงที่ชื่อว่า มิโดริ เป็นเหมือนด้านสว่างในชีวิตเขา แต่ในเมื่อเขายังติดอยู่ในวังวนความรักกับ นาโอโกะ เขาก็รู้สึกสับสน ก็ไม่ต่างไปกับ นาโอโกะที่ยังติดอยู่กับความรักในอดีตระหว่างเธอ กับ กึสึกิ  สุดท้ายแล้ว วาตานาเบะก็ต้องตัดสินใจ  





บอกไว้เลยว่ามันคือหนังที่ผมคิดว่าไม่ควรพลาดอีกเรื่อง  อย่างที่บอกหนังมันมีความโศกเศร้าและฟูมฟายอยู่ในระดับที่ผมว่าพีคอารมร์ของคนดูแทบจะระเบิดออกมาได้จริงๆ  หนังไม่ต้องใช้ฉากที่รุนแรง เพียงแต่ความฟุมฟายมันออกมาจากตัวละครทั้ง วาตานาเบะ และ นาโอโกะ  

ตัวละครหลักสองคนนี้ผมคิดว่า มันมีความฟุมฟายอยู่ในระดับมากพอสมควร ส่วนคนอื่นๆ ผมถือว่าเป็นองค์ประกอบเสริมในเรื่องเท่านั้น     



Norwegian wood  ผมมองอีกอย่างว่ามันเป็นหนังรักสามเศร้าแบบซับซ้อน  ซึ่งผมไม่ได้บอกว่ามันดูยากอะไรเข้าใจง่ายเสียด้วยซ้ำ ความซับซ้อนที่ว่าคือความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่องนี้    นาโอโกะ รัก กับ กิสึกิ แต่มีวาตานาเบะผู้ซึ่งรอเธออยู่ตลอดเวลา  พอ กิสึกิ ตายไป เราจะตัดตัวละครตัวนี้ออกไป เหลือแค่  วาตานาเบะ กับ นาโอโกะ สองคน  จากนั้นก็ิมีตัวละครตัวใหม่เข้ามา คือ มิโดริ ซึ่งก็ มีความสัมพันธ์กับ วาตานาเบะ   ในเวลาต่อมา หลายคนอาจคิดว่าทำไม วาตานาเบะ รัก นาโอโกะ แบบสุดหัวใจ แล้วจึงไปมีอะไรกับ มิโดริ ผมคิดว่าเขาก็สับสนอยู่ในสิ่งที่เขาทำ ฟังเหมือนดูมักง่าย แต่ลึกๆผมคิดว่า วาตานาเบะรู้อยู่แล้วว่า ต่อให้เธอกับเขามีอะไรกัน นาโอโกะก็ยังไม่เคยลืม กิสึกิ เลย  ยังพูดถึงบ่อยๆ ถึงแม้ว่า กิสึกิจะตายจากเธอไปแล้ว   เขาก็ไม่ผิดที่จะเปิดรับอะไรใหม่ๆ  แต่ลึกๆผมก็มองว่า วาตานะเบะ ก็เลือก นาโอโกะ และอยากที่จะใชัชีวิตร่วมกับเธอที่สุดเพียงคนเดียว  เพียงแค่สถานการณ์ความโศกเศร้าต่างๆพาให้ตัวละครทั้งสอง สับสน และยากที่จะออกจากวังวนที่เลวร้ายแบบนี้    


หนังยังพูดถึงเรื่องของ เซ็ก   ฉาก love scene วาบหวิวต่างๆ ทำออกมาและสวยงามจริงๆ
มุมกล้องต่างๆทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง  และดูเป็นธรรมชาติที่สุด         movement ของตัวละครค่อนข้างไปแบบเนิบช้า หรือบางครั้งก็มีแช่กล้องอยู่หลายฉาก    


เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ผมชอบความฟูมฟายของตัวละครมากๆ มันทำให้ผมรู้สึกอินไปกับหนังเรื่องนี้

โดยเฉพาะ ฉากที่ผมชอบที่สุดคงเป็น ฉากที่ วาตานาเบะ นั่งร้องไห้ตรงโขดหิน เมื่อรู้ว่า นาโอโกะฆ่าตัวตาย  แบบฟูมฟายสุดชีวิต แบบผมคิดว่ามันคือการร้องไห้ที่ผมคิดว่าทรมานที่สุดที่ผมเจอมา ฉากนั้นผมขนลุกจริงๆ ครับ      

คุ้มค่าอย่างยิ่ง กับสองชั่วโมงกว่าๆที่ สูญเสียไป ให้กับหนังเรื่องนี้  

   

คะแนน  A




วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ท้องฟ้าในวันนั้นเป็นของใคร 36

                                                                          36 
                                                     
                                                     

(Thailand,2012, เต๋อ นวพล )


                                                    
                                                   
                                                   ท้องฟ้าในวันนั้นเป็นของใคร

บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์

                                                 ท้องฟ้าในวันนี้ยังสวยงามเหมือนเช่นวันก่อน

การเขียนบล๊อกในวันนี้มันเป็นความรู้สึกและอารมณ์ที่ติดค้างกับหนังเรื่องหนึ่ง ที่ผมมีโอกาสได้ดูเมื่อคืน
หนังที่ว่านี้ ชื่อเรื่องว่า  36  ของพี่ เต๋อ นวพล ผู้กำกับหนังอิสระ   36 ถือได้ว่าเป็นหนังทดลองที่ทำออกมาในรูปแบบ ของการถ่ายภาพแต่ละช๊อต ให้ได้ภาพทั้งหมด 36 ภาพ  แล้วมาเรียงต่อกันในหนัง ความยาวทั้งหมด 68 นาที โดยเล่าลำดับเหตุการณ์สถานที่นั้นๆ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไม่มีการเคลื่อนกล้องแต่อย่างใด โดยแต่ละฉากจะโฟกัสไปที่มุมมุมหนึ่งเท่านั้น ตัวละครอาจเคลื่อนไหวได้แต่ต้องอยู่ในเฟรมๆนั้น   พูดง่ายๆเล่าเรื่องราวด้วยการแช่กล้อง ให้เหมือนภาพเคลื่อนไหว 36 ภาพ


หนังเรื่อง 36 เหมือนกับการให้คนดูได้ดูภาพภ่าย 36 ภาพที่อยู่ในอัลบั้มรูปหนึ่งอัลบั้ม   เรื่องราวในหนังก็พูดถึงตัวละครสองคน คือ ทราย หญิงสาวที่ทำหน้าที่หาโลเคชั่นถ่ายทำหนัง เธอชอบถ่ายภาพสถานที่ต่างๆ ด้วยกล้องดิจิตอล   กับ อุ้ม ผู้ชายที่ทำหน้าที่ฝ่ายศิลป์  ทั้งสองมาร่วมงานกัน  มีเวลาด้วยกันในระยะเวลาสั้นๆ


การถ่ายภาพ ความทรงจำ และ สถานที่

กล้องถ่ายรูปผมมองว่ามันเหมือนกับสิ่งที่สามารถบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับ ห้วงเวลา สถานที่  คน โดยมันไม่หายไปไหน มันยังคงอยู่  เราสามารถนำภาพถ่ายกลับขึ้นมาดูอีกครั้ง โดยเรื่องราวมันยังอยู่ในภาพๆนั้น  และผมมองว่า มันสามารถพาเราย้อนกลับไปยัง สถานที่แห่งนั้น กลับไปยังช่วงเวลาเหล่านั้นได้   ผมมองวานี่แหละคือสเน่ห์ของภาพถ่าย


สิ่งที่ผมชอบในหนังก็คือ ไอเดีย วิธีการเล่าเรื่องของ พี่เต๋อ ผู้กำกับ ที่ใช้ภาพในการเล่าเรื่อง  มันอาจไม่ปะติดปะต่อกัน แต่ทุกภาพทุกฉาก 36 ภาพผมมองว่า ทุกภาพมันมีเรื่องราวของมันอยู่ในตัวเอง
จะสังเกตุได้ว่า ในแต่ละฉาก จะมีการแช่กล้องนาน บางครั้งเขาต้องการทิ้งให้อารมณ์คนดู ปล่อยความรู้สึกไปกับหนัง ฉากๆนั้น บางครั้งเขาอาจให้คนได้มีเวลาในการบันทึกจดจำ details ต่างๆ ที่อยู่ในฉากๆหนึ่ง   คือจำลายละเอียดในภาพๆนั้นได้  อาจมี ขวดน้ำ สิ่งเล็กๆ แต่ผมมองว่ามันมีชีวิตถ้าเราจะให้เรื่องราวกับมัน


ฉากที่ผมชอบคงเป็นฉากที่ตัวละครทั้งสองขึ้นไปถ่ายรูปบนดาดฟ้าในวันที่ท้องฟ้าสวย  ผมชอบฉากนั้นที่สุด

ซาว์แทรกบรรเลงในหนังได้อารมณ์ผมมาก รู้สึกถึงความว่างเปล่า  ความเหงา ไม่ก็นึกถึงความทรงจำดีๆ
เรื่องราวในภาพถ่าย

36 อาจไม่ใช่หนังทุนสูง นักแสดงไม่รู้จัก แต่มันเป็นหนังทุนต่ำ มันเป็นหนังทดลองที่ทำออกมาแล้ว ทำให้คนรู้สึกเพลินเพลินไปกับมัน ผมมองว่าหนังเรื่องนี้มันเป็นอารมณ์ในการดูล้วนๆครับ  ถ้าคุณไม่ได้คิดอะไรมาก ปล่อยจิตใจให้สบายๆ ผมคิดว่าคุณจะหลงรักหนังเรื่องนี้ได้ไม่ยาก


คะแนน  B+





วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นางฟ้าตัวน้อย แห่งเมืองสีเทา

                                                                 Lidya 4 EVER


(Sweden,2002,Lukas Moodysson )


                                            " นางฟ้าตัวน้อยแห่งเมืองสีเทา"


บทวิเคราะห์ และ  วิจารณ์


" ฉันอยากที่จะโบยบินไปให้ห่างจากดินแดนนี้   ไปในดินแดนที่มีชีวิตชีวากว่านี้ ไปอยู่กับพ่อแม่ของฉัน

ชีวิตฉันคงจะดีกว่านี้  "


  Lidya 4 EVER หนังสวีเดนสุดหม่น ว่าด้วยเรื่องราวของเด็กสาวที่เติบโตในดินแดนที่อยู่ใน สหภาพโซเวียตเมืองที่แล้งแค้น อดอยาก หนาวเหน็บ   ไร้ผู้คนอาศัยอยู่ ถ้ามีอยู่ก็จำนวนน้อยมาก  ดินแดนที่ไร้การพัฒนา  เป็นเมืองที่ตายไปแล้ว  เธอฝันว่าอยากที่จะไปอยู่กับแม่ของเธอที่อเมริกา  แต่ความฝันก็เป็นได้แค่ภาพวาดในจินตนาการที่ไม่มีอยู่จริง   เธออาศัยไปวันๆ ได้รู้จักกับเพื่อน ตัวน้อยเด็กหนุ่มซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นน้องของเธอ อาศัยอยู่ใกล้บ้านของเธอ เขาชอบมาโยนกระป๋องเล่น แทนลูกบาส

เขาทั้งสองต้องเผชิญชะตาชีวิตในเมืองอันแล้งแค้นนี้  และฝันว่าซักวันพวกเขาสองคนจะหนีอออกไปในดินแดนเหล่านี้ให้ได้


ชีวิตโสเภนีของเด็กสาว  ปัญหาสังคม

เราจะเห็นได้ว่าโสเภนีเด็กสาวในสังคมปัจุบันก็มีให้เห็นกันพอสมควรอาจจะไม่เยอะมาก สาเหตุก็อาจมาหลากหลายของปัญหา  ตัวละครในหนังเรื่องนี้เป้นเด็กสาวที่ขาดความอบอุ่น จากพ่อและแม่  และสภาพแวดล้อมในเมืองแย่ๆ ที่ผมมองว่ามันสามารถจะดึงเธอให้อยู่ในวังวนแบบนี้ไม่ยาก มั่วเซ็ก เสียตัว  หรือ เสพยา   ไปจนขนาดฆ่าตัวตาย

หนังเรื่องนี้ผมมองว่ามันหม่นในระดับสูงถึงสูงที่สุด  ด้วยเนื้อหาและเรื่องราว เธอต้องขายบริการชายวัยผู้ใหญ่ และ วัยชรา  จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เพื่อให้ได้เงินนั้นไปเสพสุข หรือทำชีวิตให้ดีขึ้น  แต่สิ่งนั้นมันยิ่งทำให้เธอดำดิ่งลงเหวมากขึ้นทุกที  ดูเหมือนหนังก็จะดึงอารมณ์คนดูให้ไปถึงขั้นพีค ว่า ทำไมตัวละครตัวนี้แม่งไม่ตายไปตั้งแต่ตอนแรกวะ จะได้ไม่มามีชีวิตที่ทรมานขนาดนี้   แต่ถึงอย่างไรหนังมันก็ไม่ได้ลดความดาร์กลงไปเลย ยิ่งดำเนินเรื่องไปเท่าไหร่ ยิ่งดาร์กมากขึ้นเลยๆ   เพียงแต่มันไม่มีฉากน่ากลัวเท่านั้น มันดาร์กในเรื่องของจิตใจ ของตัวละคร

เด็กดมกาว

ตัวละครที่ต้องเผลิญชะตาชีวิตกับ เด็กสาว ก็คือ เด็กหนุ่มน้อยข้างบ้าน  ที่ฝันวาอยากเล่นบาสเกตบอล และมีลูกบาสเป็นของตัวเอง ที่วันๆ ก็เอาแต่ดมกาว  เขามากจาก สวีเดน แต่ถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังคนเดียว   ซึ่งการดมกาวก็เป็นเหมือนเพื่อนคลายเหงา และเป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะทำให้ชีวิตเขาหลุดพ้นจากความทุกข์ชั่วขณะ



แต่สิ่งที่พอจะทำให้ตัวละครสองคนมีความสุขอยู่บ้าง อาจเป็นเรื่องของมิตรภาพความสัมพันธ์ของตัวละครสองคัวนี้ ที่ดูเหมือนว่าจะรักกันมากๆ พวกเขาคงไม่อยากเผชิญชีวิตที่โหดร้ายเพียงลำพัง คิดว่าอย่างน้อยก็มีเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกัน มันเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาอยากที่จะต่อสู้ไปด้วยกัน และหนีไปจากดินแดนสีเทาแห่งนี้


สิ่งที่ผมชอบในหนังเรื่องนี้คงเป็นเรื่อง ความดาร์กในเนื้อหา นี่แหละที่ผมคิดว่า ดูหนังเรื่องนี้แล้วโครตสะใจเลย ทำไมมันช่างดาร์กแบบนี้   แล้วก็ ความขัดแย้งภายในจิตใจกับโลกความเป็นจริง  ของตัวละคร สิ่งที่เขาฝันช่างสวยงาม  สิ่งที่ตัวละคร วาดมโนภาพในจิตใจของเขาในแง่ดี ซึ่งมันขัดแย้งกับโลกความจริงอันโหดร้าย  ที่ตัวละครไม่มีวันหนีไปจากดินแดนแห่งนีได้   แล้วก็การเปรียบปีกสีขาวของนางฟ้า และเทวดา ที่เป็นตัวแทนอิสระภาพ พาพวกเขาบินหนีไปจากดินแดนแห่งนี้ได้


การหยิบเอาเมืองที่เกิดจากการล่มสลาย ของโซเวียด   มาเปรียบเทียบกับ ตัวละคร

ตัวละครก็ เปรียบเหมือนกับเมืองบ้านเกิดของเธอ  เมืองที่ ได้ล่มสลายไปแล้ว   เมืองที่หายไปพร้อมกับกาลปัจุบัน เมืองที่ไม่มีใครอยากที่จะอยู่     ก็ไม่ต่างจากตัวละครซึ่งไม่นานเขาก็จะตายไปกับดินแดนยากไร้แห่งนี้   ตายไปด้วยความหดหู่ เศร้าหมอง โดดเดี่ยว


" ถ้าเกิดว่าปีกสีขาวมีจริง ปีกนี้ช่วยพาฉันออกไปจากดินแดนแห่งนี้เสียเถอะ"


คะแนน A








วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เธอมากับฝน Be with you

                                                                        Be with  you

                                                                                 
                                                                           


                                 (Japan,2004,Nobuhiro Doi)

"เธอมากับฝน"



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


ความรักและ ปาฏิหารย์ 

สายใยรักครอบครัวและความผูกพันธ์  ความรักที่ไม่มีวันตายของพ่อ แม่ และ ลูกน้อย


บทความนี้เปิดเผยเนื้อเรื่องที่สำคัญของหนัง  



วันหยุดสุดสับดาห์อันแสนสบายของผม ส่วนใหญ่หมดไปกับการหาหนังดูที่ไม่เคยดู และแล้วก็มีโอกาสได้ดูหนังเรื่อง  Be with you ซักที   ต้องบอกเลยว่ามันเป็นหนังสำหรับครอบครัวจริงๆ ประทับใจมากและอิ่มเอมเมื่อดูหนังเรื่องนี้จบ  และความรู้สึกของผมมันยังลอยติดค้างอยู่ในใจ   รู้สึกอบอุ่นอย่างบอกไม่ถูก มันเป็นความรักของคนในครอบครัวที่แสนจะน่ารัก  และเป็นความรักที่ทุกชีวิตพร้อมที่จะดูแลกันไปตลอด 

Be with you เล่าเรื่องราวของครอบครัวหนึ่งที่ประกอบไปด้วยพ่อ แม่ และ ลูกชายตัวเล็ก  ซึ่งพ่อและลูกชาย ได้สูญเสียคนที่รักไป คือ แม่ หญิงสาวที่ชื่อว่า มิโอะ    มิโอะให้สัญญากับพวกเขาว่า อีก 1 ปีข้างหน้าหลังจากที่เธอตายไป ในฤดูฝนเธอจะกลับมาหาพวกเขาอีก แต่ถ้าฤดูฝนหมดไปเธอก็จะหายตัวไป 
ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาในฤดูฝนสั้นๆ แต่มัก็สามารถทำให้ พ่อ และ ลูก มีความสุข


หนังอยู่ในโหมดสว่างสดใส พูดถึงเรื่องราวปาฎิหารย์ของความรัก ที่เหลือเชื่อ  ทำให้ผมรู้สึกอินไปกับเรื่องราว และ คิดว่าถ้าเกิดว่ามีปาฎิหารย์แบบนี้อยู่จริงบนโลกใบนี้คนที่สูญเสียแม่ หรือ ภรรยาอันเป็นที่รัก     ก็คงจะดี  ผมเชื่อเลยว่าทุกคนที่สูญเสียคนรัก คงจะเคยจินตนาการเล่นๆว่า อยากให้พวกเขากลับมาหาอีก ได้มามีชีวิตอยู่ ได้ใช้เวลาที่แสนอบอุ่นร่วมกัน  

ฉากตอนที่ มิโอะกำลังบอกลา  ทาคูมิ และ ยูจิ  ว่าต้องไปแล้วผมรู้สึกใจหายอยู่เหมือนกัน
ส่วนตัวแล้วผมก็ชอบดูหนังครอบครัวแต่มีไม่กี่เรื่องนักที่จะนำเอาเรื่องราวความรัก ที่ผมขอใช้ว่า รักแท้ บวก ปาฎิหารย์  ของคนในครอบครัวที่ผมมองว่า เป็นครอบครัว ที่ดูแล้วอบอุ่นจริงๆ   ฉากที่ผมชอบมากที่สุดคงเป็นฉากที่สมาชิกทั้ง 3 คน เป่าเค๊กวันเกิดของ ลูกชาย ยูจิ ฉากนั้นทำผมแทบร้องไห้ ประทับใจจริงๆ    


ถ้าดูหนังเรื่องนี้ทำให้ผมนึกไปถึงอารมณ์ของหนังครอบครัวพ่อแม่ลูกอย่างเรื่อง  I wish มันมีอารมณ์คล้ายๆกันอยู่ ในแง่มุมมอง ความรัก และ ปาฎิหารย์ ที่คนเป็นลูกอยากให้เกิดขึ้น เพียงแค่เรื่องนั้นปาฎิหารย์ไม่ได้มีอยู่จริงและความรักระหว่างพ่อและแม่ เรื่อง i wish ดูแล้วไม่ผูกพันธ์ เท่ากับ be with you   



สิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำได้น่าสนใจก็คือ การเลือกที่จะเล่า moment ของหนังใน สามช่วงเวลา โดยตลบคนดูให้งงนิดหน่อย โดยไม่เล่าตรงๆ แต่เลือกที่จะเล่าแบบวกไปวนมา คือ ฉากปัจุบันตอนที่ เหลือสมาชิกแค่สองคน ตอนที่ ยูจิ โตเป็นวัยรุ่นแล้ว อยู่กับพ่อสองคน ตอนนั้มิโอะตายจากไปนานแล้ว   นั้นเป็นเรื่องราวที่มีอยู่จริงในปัจจุบันที่สุด แล้วก็ย้อนไปช่วงตอนที่ ทาคูมิ และ มิโอะ อายุ 29   ตอนที่ฤดูฝนเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ มิโอะกลับมาหา ทาคูมิ และ ยูจิ  และได้เล่าอีกว่า มิโอะตายไปเมื่อปีที่แล้วก่อนหน้านั้น คือ ตอนมิโอะอายุ 28  หนังย้อนไปให้เห็นถึงช่วงเขาทั้งคู่เริ่มพบรักกัน เมื่อตอนที่เขาอายุ 20     แล้วก้มีเหตุการณ์ที่นำพาไปร่างกายของ มิโอะเริ่มอ่อนแอตอนที่ มิโอะโดนรถเฉี่ยวแล้วก็ล้มลงไป สลบไสลในโรงพยาบาล  และมิโอะก็ไปสู่อนาคตใน 9 ปีต่อมา คือไปตอนที่เธอ อายุ 29  แล้วอนาคตตอนนั้นเป็นตอนที่เธอตายไปเมื่อหนึ่งปีก่อน คือพูดง่ายๆ มิโอะรู้อนาคตว่าอีก 8 ปีข้างหน้าต้องตาย  คือตายอายุ 28  บวก อีก 1 ปี เป็นสัญญาที่มิโอะเคยให้ไว้กับ ทาคูมิ และ ยูจิ ว่าในฤดูฝนจะกลับมาพบกันอีกในช่วงเวลาสั้นๆ คือพูดง่ายๆ ตอนที่ ทาคูมิอายุ 29  มิโอะตายไปแล้ว แต่ที่มาพบได้อาจเป็น วิญาณหรือปาฎิหารย์จากฟากฟ้า ที่ส่งเธอมาให้มีชีวิตอยู่กับพวกเขาในเวลาสั้นๆ  อีกครั้งนึง  แต่เมื่อฝนหายไป เค้าต้องกลับไป แต่สุดท้าย มิโอะก้เลือกที่จะมีชีวิตอยู่กับ ทาคูมิ ทั้งที่รู้ว่าอีก 8 ปีข้างหน้าต้องตาย  เพราะเขาชื่อว่าต่อให้ตายชีวิตเขาอีก  8 ปีข้างหน้า บวก อีกช่วงเวลาสั้นๆ ในฤดูฝน มันก็สามรถทำให้เขามีความสุข 


ประโยคเด็ดของหนังที่ผมชอบก็คือ 
      
"  ความสุขของฉันคือการมีคุณ  และอยู่เคียงข้างคุณตลอดไป"      ผมว่ามันเป็นความรู้สึกที่สั้นๆไม่ซับซ้อน แต่กินใจมากครับ  

คะแนน A



วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

" ชนะใจตัวเอง นั้นยิ่งใหญ่ที่สุด " Little miss sunshine

                                                    Little miss sunshine

                                                   

(U.S,2006,Jonathan dayton )

                                                   

                                              
                             " ชนะใจตัวเอง นั้นยิ่งใหญ่ที่สุด "  


บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


                        "พวกเราอาจเป็นเหมือนรถกระป๋องคันที่ไม่สมบูรณ์  แต่มันก็สามารถถึงเส้นชัยได้ถ้าพวกเราช่วยกัน"

  "คนที่เกิดขึ้นมาในโลกใบนี้มีอยู่สองประเภท คือ หนึ่ง ผู้ชนะ และ อีกอย่าง คือ ผู้แพ้  คงไม่มีใครที่จะอยากเกิดมาเป็นผู้แพ้หรอก แต่จะมีซักกี่คนมั้ยที่ยอมรับความพ่ายแพ้นั้น และมีความสุขร่วมกับมันกับมัน
อย่างน้อยก็มี ครอบครัวหนึ่งนี่แหละแพ้อย่างภาคภูมิใจ"


การเขียนบล๊อกของผมวันนี้ต้องบอกก่อนว่า ผมภูมิใจนำเสนอหนังเรื่องหนึ่ง สัญชาติอเมริกา  ที่มีชื่อเรื่องว่า  little miss sunshine  ถ้าแปลเป็นภาษาไทยตรงๆมันจะหมายความว่า  พระอาทิตย์ส่องแสงอันน้อยนิด  หลายคนอาจคิดว่านี่มันหนังหดหู่ หม่น น่ากลัว หรือคิดไปกว่านั้น ผมอยากบอกว่ามันไม่ใช่อย่างที่คุณคิด  หลังจากที่ผมดูจบแล้วความอบอุ่นและความประทับใจของหนังเรื่องนี้  มันสามารถเอาชนะใจผมได้จริงๆ  หนังมันเล่าเรื่องของครอบครัวหนึ่งตะกูล hoover ที่พร้อมที่จะเป็นผู้แพ้ด้วยคุณสมบัติของเหล่าสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว ซึ่งก็ประกอบด้วย  พ่อ ผู้ชายที่บ้าเรื่องทฤษฏี 9 ขั้นของการเป็นผู้ชนะ  และเขาเชื่อว่าต้องทำให้ได้
แม่ หญิงสาวอารมณ์ขึ้นลง ติดบุหรี่ และจะเลิกมัน  ลูกชาย เด็กหนุ่มผู้ซึ่งสัญญากับตัวเองว่าจะไม่พูดกับใครจนกว่าจะเข้าการบินได้     ลุง หนุ่มชาวเกย์พยายามที่จะฆ่าตัวตายเนื่องจากอกหัก พยายามทำชีวิตให้ดีขึ้น    คุณปู่ติดโคเคน พยายามเลิกให้ได้  และที่สำคัญจะขาดไม่ได้ คือ  หนูน้อย ที่ฝันว่าจะเป็นนางงาม


ตัวละครทุกตัวในเรื่องมันมีความอยากเป็นผู้ชนะด้วยกันทั้งหมด ชัยชนะที่ขัดแย้งกับความเป็นผู้แพ้ที่มีอยู่ในแต่ละคนของครอบครัว คือ ใจอยากที่จะชนะ แต่ด้วยคุณสมบัติที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถชนะได้ ในความเป็นจริง


จะว่าไปหนังเรื่องนี้มันเป็นหนังในแง่การให้กำลังใจคน ในการต่อสู้ชีวิต ซึ่งเป้าหมายแต่ละคนที่เกิดมาก็ไม่เหมือนกันในหลักความเป็นจริงบนโลกใบนี้ บางคนก็ตั้งเป้าหมายสูง บางคนก็ไม่สูงมาก หรือบางคนก็ไม่เคยคิดที่จะตั้งเป้าหมายไว้เลย ซึ่งอย่างนั้นผมว่าน่ากลัว แต่ถ้าบางคนตั้งไว้แล้วดันไปไม่ถึง จะทำอย่างไรให้มีความสุขในจุดนั้น จุดที่เขาไปไม่ถึงและยอมรับมัน ผมว่าเรื่องนี้มันอยู่ที่ใจของเรามากกว่า ถ้าใจเราเพียงพอกับสิ่งที่เราทำได้แค่นั้น หรือ อย่างน้อยเราได้ทำแล้ว ถึงจะไม่สำเร็จ หรือ เป็นผู้ขนะ  เราก็เป็นผู้แพ้อย่างภาคภูมิใจ  หนังทำสื่ออกมาได้ดีเอามากๆ


ความสนุกของตัวละครทุกตัวในหนังเรื่องนี้ต้องบอกเลย มันสนุกทุกตัว มีมุขตลก และแต่ละคนในครอบครัวมันมีความเพี้ยนไปคนละแบบ มันจึงทำให้ผมรู้สึกสนุกไปกับตัวละครทุกตัว หนังดำเนินเรื่องไปในแบบหนังแนว road movie โดยใช้พาหนะเดินทางผจญภัย เป็นรถ คัันสีเหลืองที่สภาพพร้อมที่พังได้ทุกเมื่อ

ฉากไหนที่ผมชอบมากที่สุดคงหนีไม่พ้น ฉากตอนจบที่หนูน้อย olive เข้าประกวดเวทีหนู้น้อยความสามารถ ท่ามกลางเด็กน้อยน่ารักเต็มไปด้วยความสามารถ ซึ่งเธอก็ดูเหมือนว่าจะเป็นแกะดำ ซึ่งเต้นไม่เก่ง และดูเหมือนไม่มั่นใจเอาซะเลย  แต่ด้วยความกล้าบ้าบิ่น ขณะที่เด็กน้อยคนอื่นๆเต้นเพลงน่ารักๆใสๆแบบเด็กๆ  เธอเลือกเพลงที่ต่างออกไป พร้อมท่าเต้นที่ดูแล้วยั่วยวน ผมขอใช้คำว่า แก่แดด เกินเด็กละกัน ทำให้คนดูรู้สึกไม่พอใจและดูถูก ลุกหนีไปตามๆกัน ทั้งคณะกรรมการ จนต้องให้พิธีกรชายบนเวที่เชิญออก และบอกให้พ่อของเธอมาเอาออกกลับไป ถ้าพ่อของเธอมาเอาออกไปหนังมันคงจะดูธรรมดาไป    แต่หนังมันทำให้ผมต้องประทับใจและตะลึงเมื่อจู่ๆ พ่อของเธอ ก็กลับรู้สึกสนุกและเต้นตามลูกสาว จากนั้นสมาชิกที่เหลือก็ร่วมกันเต้นบนเวทีท่ามกลางความขัดแย้งและเสียงโห่ของคนในงาน  ซึ่งมันทำให้ผมรู้สึกประทับใจในความกล้ามากของพวกเขามาก มองอีกมุมนึงคือรู้สึกสงสาร ที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเขา แต่ผมกลับชอบนะ ซึ่งมันเป็นฉากที่ผมกลับไปดูว้ำแล้วซ้ำอีก  


 ถึงตอนนี้ Little miss sunshine เป็นภาพยนต์ครอบครัว ตลก ดราม่าที่เข้าไปอยู่ในใจของผมเรียบร้อยแล้ว

คะแนน A+







วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อยากกลับไปนั่ง Time machine อีกครั้ง Summer time machine blues

   Summer time machine  blues

                                                                               

(Japan,2005,Katsuyuki Motohiro )


"อยากกลับไปนั่ง Time machine อีกครั้ง" 



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


บทความนี้เฉลยตอนจบของหนัง ไม่เหมาะกับผู้ที่ยังไม่ชมภาพยนต์


การเขียนบล๊อกในวันนี้ช่างแสนพิเศษจริงๆ วันนี้เปลี่ยนอารมณ์จากหนังที่ดราม่า หนังรักโรแมนติก หนัง art ฉากสวย ไรก็ตาม  มาดูหนังตลกกึ่งไซไฟดูบ้าง ทันทีเมื่อผมได้ดูหนังเรื่องหนึ่งจบ ก็อยากที่จะเล่าและเขียนถึง หนังกวนๆ พล๊อตเรื่องเพี๊ยนๆ ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความสนุก และตลก ซักหนึ่งเรื่อง หนังกวนๆตลกๆที่ว่านี้เป็นหนังญี่ปุ่นอีกแล้วครับ มีชื่อเรื่องว่า


Summer time machine  blues เล่าถึงการย้อนเวลาตามหาเจ้ารีโมทแอร์ ของเด็ก 5 คน กลุ่มหนึ่งที่อยู่ชมรม si cfi และ เด็กสาวอีก 2 คน ในชมรม ถ่ายรูป
เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วง summer ฤดูร้อนที่แสนจะน่าเบื่อหน่าย แต่เด็กกลุ่มนี้ก็มีเรื่องสนุกๆ ทำกันอยู่ตลอดเวลา พวกเขาเข้าไปนั่งในห้องชมรมและเปิดแอร์แต่อยู่ๆ ก็มีสมาชิกในกลุ่มดันทำน้ำโค๊กหกใส่เจ้ารีโมท ทำให้รีโมทนั้นใช้การไม่ได้   สมาชิกในชมรมก็หงุดหงิดเนื่องจากอากาศร้อน
อยู่มาก็มี ชายหัวเห็ด หน้าตางี่เง่า มาจากไหนก็ไม่รู้ และบอกว่า มาจากอนาคต ปี 2030  พร้อมเครื่อง time machine หน้าตาแปลกประหลาด พวกกลุ่มเด็กชมรมไซไฟ รู้สึกตื่นเต้นกันใหญ่กับเจ้าเครื่องย้อนเวลาเครื่องนี้และอยากที่จะท่องเวลาไปกับ อดีต  สมาชิกคนหนึ่งนึกไอเดียออกว่า ทำไมเราไม่ลองย้อนเวลากลับไปเอาเจ้ารีโมทแอร์กลับมาก่อนที่มันจะเสีย แล้วความวุ่นวายต่างๆก็เกิดขึ้น



หนังค่อนข้างสนุกเอามากๆ ผมชอบไอเดียการนำเสนอ การเล่นเกี่ยวกับกาลเวลา อดีต อนาคต ของตัวละคร  และเหตุการณ์ต่างๆ ที่หนังนำเอาสิ่งง่ายๆ ในเรื่อง คือ รีโมต ที่ดูแสนจะธรรมดา แต่มีการผูกเรื่องไว้อย่างน่าสนใจ  บวกกับเทคนิคกราฟิคที่ทำออกมาโครตจะการ์ตูน มุขตลกต่างๆของตัวละคร ท่าทาง สีหน้าที่แสนจะกวน มันทำให้รู้สึกเพลิดเพลินและฮาไปกับหนัง บางครั้งตอนที่ผมดูรู้สึกเหมือนราวกับว่าตัวของผมหลุดไปอยู่เรื่องราวในหนังจริงๆ


ตัวละคร ชายหัวเห็ด หนุ่มที่มาจากอนาคต 2030

ตัวละครตัวนี้นั้นผมโครตชอบเหลือเกิน ด้วยลักษณะบุคลิก ทรงผมหัวเห็ด การแต่งตัว หน้าตาที่โดยรวมผู้ชมส่วนใหญ่ถ้าดูจะมองว่า นี่มันเด็กเอ๋อนี่หว่า ดูกี่ทีก็ตลกกับตัวละครตัวนี้ แต่ละครตัวนี้มันมีความน่ารักและความฉลาดแฝงอยู่  ตัวละครที่สมารถนำเอารีโมทในอนาคตมาให้สมาชิกที่อยู่ในชมรมได้  คุณว่าเก่งมั้ยละ


หากย้อนเวลาได้ คุณอยากที่จะกลับในในช่วงเวลาไหนมากที่สุด ?


คำถาม เบสิค ที่ได้ยินกันบ่อยๆ มักถามถึงจิตใต้สำนึกของเราว่า ทุกคนคงอยากที่จะย้อนเวลาได้ อยากที่จะไปเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเรื่องในอดีต  โดยเฉพาะความผิดพลาดล้มเหลวในชีวิต หรือบางคนก็คิดไปเล่นๆว่า อยากที่จะไปดูเรื่องราวในอดีต ภาพตัวเองในวันวาน และทำบางอย่างให้สนุก แต่ลืมนึกถึงเรื่องราวในปัจจุบันว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราไปเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้น



 อดีต  และ อนาต ทฤษฎีสัมพันธภาพเกี่ยวกับกาลเวลา


การย้อนเวลาไปสู่ห้วงอดีต และ อนาคต นำมาเล่าในหนังเรื่องนี้เต็มไปหมด  การย้อนไปเปลี่ยนแปลงอดีต อาจทำให้อนาคตหรือปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงและวุ่นวาย เฉกเช่นเดียวกับในหนังเรื่องนี้ที่ ตัวละครพยายามไปเอาสิ่งต่างๆที่หายไปในอดีตเพื่อให้ได้กลับคืนมา ถ้าคุณไปเปลี่ยนแปลงมัน คุณก็จะหายไป ทำให้พวกเขารู้สึกกลัวและไม่ยอมเสี่ยงที่จะกลับไปในห้วงเวลานั้น



ถ้าจะถามผมว่า       Summer time machine  blues  มันเป็หนังเกี่ยวกับอะไร ผมตอบเลย ว่ามันคือหนังตลก กึ่งไซไฟที่ดูแล้วให้อารมณ์แบบการ์ตูน


ท่อนเพลง เกม Atari กับ ความทรงจำในตอนเด็ก


ถ้าดูหนังเรื่องนี้จะสังเกตุว่ามันมี sound เกม atari ในฉากต่างๆโผล่ออกมาให้ได้ยิน  เวลาที่ตัวละครจะทำภารกิจที่สำเร็จ  มันทำให้ความทรงจำของผมพลัดพราไปถึงความสนุกสนานในวันวาน นึกถึงเกม มาริโอ้ หรือ คอนทรา ในสมัยที่เกมยุค atari รุ่งเรืองสมัยที่ เด็กๆ ติดเกมต้องอ้อนพ่อและแม่ไปซิ้อตลับเกมมาเล่น หนำซ้ำการบ้านก็ไม่ค่อยเสร็จ  โดนแม่ดุอยู่เป็นประจำ แต่มันก็เป็นความทรงจำในวัยเด็กที่ผมเชื่อว่าเด็กติดเกมทุกคนต้องเคยผ่านเหตุการณ์แบบนั้นมา


ตอนจบทำเอาผมคาดไม่ถึงว่าหนังมันจะผูกเรื่องแบบนี้ เกิดคาดจริงๆ ที่เล่าถึงว่า ชายหัวเห็ดที่มาจากอนาคตเมื่อปี 2030  ในห้วงเวลาปัจจุบัน นางเอกในเรื่องที่เล่นโดย จูริ ยูเอโอะ เมื่อปี 2005  จะเป็นแม่ของชายหัวเห็ดอีก 25 ปี ข้างหน้า  เพราะมันจะมีหลายๆเหตุการณ์ที่ทำให้ผมคิดเป็นแบบนั้น นั่นก็คือ กล้องของนางเอกที่ใช้ถ่ายรูป ซึ่ง ชายหัวเห็ดอ้างว่าอดีตแม่ของเขาก็ใช้กล้องอันนี้และมอบให้ผม แล้วฉากที่บอกว่าแม่ของเขาเคยเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ วึ่งเป็ที่ที่ จูริ ก็เรียนด้วย และ จูริ ก็บอกว่า ในอนาคตว่าเธอต้องพบกับเขาอีกครั้ง  ทำเอาผมแอบเซอร์ไพร์เล็กน้อย


แต่ทั้งหมดในเรื่อง   Summer time machine  blues มันอัดแน่นไปด้วยอารมณ์ตลกของตัวละคร ความเพลิดเพลิน ความน่าสนใจ การท่องเวลา ความตื่นเต้น  ความทรงจำต่างๆ ที่ทำให้ผมประทับใจกับหนังเรื่องนี้


ถ้าฉันย้อนเวลาได้ ฉันคงอยากที่จะนั่ง time machine ไปดูหนังเรื่องนี้อีกรอบ


คะแนน A