วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

การเดินทางของโนริโกะจากชีวิตจริง ไปสู่โลกของละคร Noriko dinner table

                                                     Noriko Dinner table 




(Japan,2006,Sion sono)



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์ 


                                   การเดินทางของโนริโกะ

ฉันกำลังพาตัวฉันออกไปจากโลกแห่งนี้ โลกความเป็นจริงที่แสนจะน่าเบื่อ ฉันกำลังเข้าไปสู่โลกที่ฉันสร้างขึ้นเอง  เล่นเอง และฉันก็เลือกมัน   


บทความนี้ไม่สปอย์ตอนจบและเนื้อหาของภาพยนต์สามารถอ่านได้

ไม่ได้ดูหนังที่เท่ๆแบบนี้มานานแล้วครับ  ซึ่งเป็นหนังที่ผมได้ดูต่อจากเรื่อง  suicide club ของผู้กำกับคนเดียวกัน นั่นก็คือ sion sono ที่เล่าเหตุการณ์และเรื่องราวสะท้อนความโหดร้าย รุนแรงของตัวละคร  เสียดสีสังคมได้อย่างเจ็บแสบจริงๆ  หลายคนบอก Noriko dinner table คือหนังภาคต่อจาก suicide club  ผมมองว่ามันมีความเกี่ยวข้องกันอยู่บางส่วน แต่มันไม่ใช่ทั้งหมด   หนังพาให้เราไปเห็นเหตุการณ์ในฉากๆหนึ่งของเรื่อง suicide club  ที่มันปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้  

เนื้อเรื่องเกี่ยวกับ  เด็กสาวที่ชื่อ โนริโกะ อายุ 17 ปี หนีออกจากบ้านไปด้วยเหตุผลว่า เธอเบื่อบ้านนอก เบื่อสิ่งแวดล้อมเดิมๆ อยากไปเผชิญชีวิตในแบบใหม่ ชีวิตในเมืองหลวงอย่าง โตเกียว  ซึ่งสิ่งนั้นก็พาให้เธอเข้าไปสู๋โลกของบทละคร  


หนังพาเราไปพบฉากแรก ที่มีสาวแว่น โนริโกะ ยืนปรากฏตรงหน้าสถานีรถไฟ  กำลังเดินทางมุ่งหน้าไปโตเกียว ท่ามกลางผู้คนมากมายที่ เธอไม่รู้จักใครซักคน  ซึ่งเธอได้เข้าไปยังเว์ปไซต์นึง เว็ปไซต์นี้ทำให้เธอได้รู้จักกับ ผู้หยิงแปลกหน้าที่ใช้ชื่อนามแฝงว่า  ยูเอโอะ 54 station  ซึ่งทราบต่อมาก็คือ   คุมิโกะ สาสวยที่ทำอาชีพที่แสนจะแปลกประหลาด คือ การรับจ้างเป็นครอบครัวเสมือนจริงให้ผู้คนทั่วไปที่แปลกแยก  ต้องการต้องคนมาดูแล  เพื่อทำให้ผู้คนได้คลายความเหงาขั่วขณะ   ซึ่งผมก็เพิ่งรู้ว่ามันมีอาชีพนี้จริงๆอยู่ด้วยบนโลกใบนี้     ซึ่ง โนริโกะ ก็เปลี่ยนชื่อตามนามแฝงที่เธอใช้ติดต่อกับ คุมิโกะ ว่า  มิสุโกะ

จากนั้นเธอก็เดินทางสู่โลกละครที่ยากจะออกได้

                                            ภาวะหลีกหนี  ตัวเอง ของ Noriko


ทำไม โนริโกะถึงต้องการเปลี่ยนชื่อตัวเอง ว่า  มิสุโกะ ทำไมเธอต้องการหนีออกจากบ้านเพื่อไปที่ให
ม่  ทำไมเธอต้องไปทำงานกับ คุมิโกะ ในอาชีพรับจ้างเป็นครอบครัวหลอกๆ ให้ผู้คน ทำไมเธอไม่อยู่ที่บ้านแล้วใช้ชีวิตกับครอบครัวให้มีความสุข     ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น   เพื่อที่เธอต้องการจะหลีกหนีตัวเอง  หลีกหนีโลกของความเป็นตริงที่แสนจะน่าเบื่อ โดยสร้างโลกใหม่ของเธอขึ้นมาเอง ว่า ฉันคือ มิสุโกะ  เปลี่ยนแปลงตัวเอง ทุกอย่างตอนแรกใส่แว่น ตอนหลังไม่ใส่  แต่งตัวให้เปรี้ยวขึ้น    ก็เหมือนกับการที่เธอดึงสายเชือกที่อยู่บนเสื้อคลุมของเธอออก เป็นการยืนยันว่า ฉันทิ้งตัวตนเก่าแล้วนะ  เพราะเส้นด้ายที่ติดอยู่กับเสื้อคลุม ก็เปรียบเหมือนสิ่งที่ติดตัวเธอมาแต่กำเนิด เมื่อเธอดึงออกไปแล้ว ก็เหมือนกับเธอตัดขาดจากตัวตนเดิม แล้วยอมไปสู่ตัวตนใหม่    

                              ที่มาของชื่อ  ยูเอโอะ สถานี 54 ( นามแฝงของ คุมิโกะ )

นั้นมันมาจาก ฉากในหนังเรื่อง suicide club ที่มีเด็กผู้หญิงจำนวน 54  คน ฆ่าตัวตายโดยการเรียงหน้าเข้าแถวกระโดดให้รถไฟทับพร้อมกัน ที่ สถานีรถไฟ      


                                           สถาบันครอบครัวที่ขาดการเชื่อมต่อ  

หนังยังแสดงให้เห็นถึงครอบครัวที่ล้มเหลวของ ครอบครัว โนริโกะ  ผมว่า คนเป็นพ่อนั้นบางครั้งอาจมีอะไรที่ไม่เข้าใจกับลูก หรือมีอะไรที่บกพร่องไป   เพียงแต่หนังนั้นไม่ได้ปูเรื่องราวของปัญหาแต่อย่างใด เป็นสิ่งที่ผมคิดว่ามันต้องมีเส้นใยบางๆไรที่หลุดออกจากครอบครัวนี้อยู่บ้าง บวก กับ ภาวะการค้นหาตัวตนของ โนริโกะด้วยที่ทำให้เธอหนีออกจากบ้านไป    ซึ่งคนในครอบครัวนี่แหละผมว่า มันต้องเชื่อมต่ออยู่ตลอด ไม่ควรที่จะหยุดหรือ ขาดหายไป เราจะได้ยินประโยคในหนังที่พูดอยู่บ่อยๆ ว่า   " คุณได้เชื่อต่อคนในครอบครัวหรือเปล่า  คุณได้เชื่อต่อตัวคุณเองหรือเปล่า  "  

สิ่งที่ผมชอบในหนังตลอดทั้ง สองชั่วโมงครึ่งคือหนังนั้น เล่นอยู่กับประเด็นสถาบันครอบครัว  แล้วก็ หนังพาให้ผู้คนลุ้นตลอดว่าจุดจบการเดินทางของ ตัวละคร โนริโกะ จะไปจบที่ตรงไหน   หนังเรื่องนี้นั้นไม่ได้ใส่ความรุนแรงในฉากเท่าไหร่นัก เพียงแต่มันออกมาในจิตใจของตัวละคร คนเป้นพ่อ ว่าเสียใจ และ ปวดร้าวขนาดไหนในวันที่ลูกสาวหนีออกไป      ฉากที่กระทบกระเทือนใจผมมากที่สุดคงเป็นฉากที่ โนริโกะนั้นเล่นละครสมมุติ เพื่อหลอกตัวเอง  ว่า พ่อเค้าคือ คนแปลกหน้า  ฉากนั้นทำให้ผมแอบหมั่นไส้ตัวละคร  โนริโกะอยู่พอสมควร      

สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ   " อย่าให้โลกสมมุติมามีบทบาทกับโลกความเป็นจริงของเรา "

     
คะแนน  A




  


  

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ตีแผ่ด้านมืดของสังคมวัยรุ่นญี่ปุ่น Suicide club

                                         Suicide club 





" มุมมืดของวัยรุ่นญี่ปุ่น  กับ ลัทธิการฆ่าตัวตายหมู่ ! "

(Japan,2000,Sion sono )





บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนต์ 


วันนี้ blog  มาค่อนข้างจะแปลกตาซักหน่อยสำหรับหนังที่ผมอยากจะแนะนำ เนื่องจากไม่ได้เขียนถึงหนังโหดมานานมากแล้วปกติ ก็ไม่เท่าไหร่กับหนังแนวนี้   แต่เรื่องนี้มันอดไม่ไหวจริงๆก็เลยอยากจะเขียนถึง  เป็นงานของ Sion Sono   ผู้กำกับที่ได้ขึ้นชื่อว่า  ถนัดการทำหนังประเภทสะท้อนด้านมืดของสังคม แปดเปื้อนไปด้วยความเลวร้าย และฉากรุนแรงของตัวละคร    กับหนังเรื่องนี้                  สุดโหด แบบโหดเลือดสาด ก็ว่าได้กับ  มีชื่อเรื่องว่า  Suicide club  หรือเรียกอีกชื่อว่า  Suicide circle  เอาง่ายๆแล้วแต่คนจะเรียกมันก็เรื่องเดียวกัน  

   
Suicide club ว่าด้วยเรื่องราวด้านมืดความบิดเบี้ยวของสังคมวัยรุ่นกับการฆ่าตัวตายหมู่   ดูเหมือนว่าจะทำเป็นลัทธิ และ แฟชั่นซะด้วย  โอ้    ทำไปเพื่ออะไร หลายคนอาจสงสัย    หนังไม่มีการปูพรมเรื่องราวปัญหาต่างๆ มาก่อนว่าทำไม วัยรุ่นและผู้คนถึงฆ่าตัวตายกันจำนวนมาก และเป็นเพราะอะไร  

หนังเปิดเรื่องก็แทบจะปิดตาดูกันเลยทีเดียว  กับฉากแรกของภาพยนต์ที่ผมว่ามันเป็นฉากที่น่ากลัวและสยองขวัญ ถึงขั้นจดจำและติดตามถึงทุกวันนี้   นั่นคือ ฉากที่เด็กนักเรียนหญิงจำนวน 50 กว่าคนไปที่สถานีรถไป เพื่อกระทำบางอย่าง   ก่อนที่พวกเธอจะเรียงหน้ากระดานและจับมือประสานกันเป็นหนึ่งเดียว แล้วก็ร้องเพลง นับ ถอยหลังก่อนที่จะกระโดดให้รถไฟชนตายกันชนิดเลือดสาด   เต็มสถานี หน้าตาเฉย ท่ามกลางความมึนงงและสยดสยอง ของ ผู้คนที่อยู่ในละแวกนั้น               โอ้พระเจ้า ทำไมมันโหดเช่นนี้  ฉากนั้นผมถึงกับงงและอ้าปากค้างว่า ทำไปเพื่ออะไรวะ    ดูอยู่ก็คลิกเมาท์แบบมือไม้อ่อนแทบหมดแรงเพราะความเสียว   และไม่อยากจะเชื่อในสิ่งที่ผมเห็นในภาพยนต์   นั่นแค่น้ำจิ้มเท่านั้นในหนังตลอด 1 ชั่วโมงครึ่ง  แต่หนังยังเต็มไปด้วยความรุนแรง และสยดสยองอีกหลายฉาก นับไม่ถ้วน  และ มาชนิดแบบคาดไม่ถึงทุกฉาก จู่ๆก็จะโผล่มาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยเรียกว่า เผลอแพบเห็นเลือดสาดจออีกแล้ว   เอาว่าอยากให้ไปดูกันมากกว่านี้      


ประเด็นหลักของหนังผมมองไปที่หนังต้องการจะสื่อให้เห็นด้านมืดของสังคมวัยรุ่นญี่ปุ่นยุค 2000   ในยุคที่เต็มไปด้วย เทคโนยี  สิ่งใหม่ๆ social network  internet   แฟชั่น  ดนตรี pop  ดารา  สิ่งเหล่านี้นั้นล้วนครอบงำผู้คนให้หลงและเป็นทาสแบบโงหัวไม่ขั้น ถึงขนาดที่ต้องฆ่าตัวตายตาม  ดาราที่ตัวเองรักและชื่นชอบ เนื่องจากเห็นว่าการฆ่าตัวตายเป็นกระแสแฟชั่นของชาวญี่ปุ่น    จึงทำตามคิดว่าเท่แต่เปล่าเลย  ชวิตทั้งชีวิตคุณเสียไปเพราะต้องการแค่ที่จะถูกเรียกว่า  พวกลัทธิ  suicide club 

หนังยังสร้างตัวละครตัวหนึ่งขึ้นมาเพื่อหลวกหลวงคนดู คือ ชายผมทองผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าของเว็บไซต์ sucide club  เว็บไซต์รวมพลคนอยากตาย    ด้วยเหตุผลเพราะอยากดัง     สุดท้ายก็ถูกจับไป
ผมมองอีกว่า  ตัวละครตัวนี้ไม่หน้าที่จะสร้างมันขึ้นมา และก็ไม่จำเป็นกับเรื่องราวของหนังเท่าไหร่  คือ ไม่มีก็ยังได้   จึงทำให้เป็นจุดเสียของหนังเรื่องนี้นิดนึง     แถมยังเพิ่มความงงให้กับคนดูซะเปล่าๆ      ไม่นั้นหนังจะ perfect มากกว่านี้อีก   แต่แค่นี้ก็เพอเฟกต์และ              


วงดนตรี dessert  ที่มาของเรื่องราวทั้งหมด


ในเรื่องเราจะเห็นว่ามีวง girl group ที่ชื่อว่า dessert ที่แปลว่า ของหวาน   ร้องเพลง pop ใสๆ คิกขุอาโนเนะน่ารัก ซึ่งขัดแย้งกับเรื่องราวความโหดร้ายของหนัง    ที่ โซโนะตั้งใจให้ออกมาในรูปแบบความขัดแย้ง ขัดแย้งยังไง   เหล่าตัวละครนักเรียนหญิงใสๆ ดูภายนอกแล้วบอบบาง อ่อนหวานเหมือนขนมหวาน เหมือนชื่อของวงดนตรี pop ที่ฮิตกันในหมู่วัยรุ่น   แต่ใครจะไปคิดว่าเบื้องลึกพวกเธอกับกล้ากระทำการฆ่าตัวตายอันหน้าสยอดสยองและโหดเหี้ยม  ซึ่งขัดกับลุคเป็นอย่างมาก    ซึ่งผมมองว่าถ้าใช้วง rock นั้น จะธรรมดาและเดาทางง่ายไปหน่อย   ความขัดแย้งนี่แหละที่ผมมองว่ามันคือเสน่ห์อย่างนึงในหนังเรื่องนี้               อีกทั้งวง dessert ยังหมายถึง  ความเป็น pop idol ที่วัยรุ่นในเรื่อง  ชืนชอบ หลงใหล และนับถือ  

การที่คนดูหนังเรื่องนี้บางคนก็พูดว่าหนังอะไรวะ  น่ากลัวแต่ฉาก  แต่ไร้สาระ มีแต่เรื่องฆ่าตัวตาย ไม่เห็นสร้างสรรค์อะไรเลย       ผมอยากจะบอกว่า  นั้นเป็นแค่เปลือกที่คุณเห็น  และคุณก็พลาดหนังดีๆเหล่านี้ไป      ถ้ามองให้ลึกแล้วหนังหยิบเอาประเด็นใกล้ตัวของมนุษย์เราที่หลายคนอาจมองข้าม  ปัญหาการฆ่าตัวตายที่หลายคนสงสัย ความบิดเบี้ยวของสังคมมนุษย์ทุกวัน  โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น  ผมมองว่าคนญี่ปุ่นมีอะไรแปลกๆ และรุนแรงแบบชนิดเราคาดไม่ถึง ผมมองว่ามันน่าสนใจดี และ โซโนะก็ทำออกมาในชนิดที่เรียกว่า ดีจนน่าแปลกใจ  


จึงไม่แปลกใจเลยที่หนัง เรื่องนี้ได้รับรางวัลมากมายจากเทศกาลหนังนานาชาติ    และเป็นหนึ่งเรื่องหนังโหดๆที่ไม่ควรจะพลาดด้วยประการทั้งปวง 


       ปล. คำเตือนหนังเรื่องนี้ไม่เหมาะแก่ผู้คนจิตอ่อนและกลัวเลือดไม่นั้นอย่าหาว่าผมไม่เตือน     แค่ถ้าใครชอบความโหดเหี้ยม เลือดสาดผมของแนะนำให้ไปหามาดู                                                                                                                                                             
                                                  
คะแนน  A                                                                                        
                                                       
                                                                                                                        

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

จิตใต้สำนึก " รึทั้งหมดเป็นแค่ฝันไป " พลอย

                                                                     พลอย 
                                                


                                                   
                                     (Thailand,2007, เป็นเอก รัตนเรือง )

จิตใต้สำนึก  " รึทั้งหมดเป็นแค่ฝันไป "




บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์

บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนต์ 

พลอย  อีกหนึ่งผลงานของ เป็นเอก รัตนเรือง งานลำดับที่ 6    ที่ยังคงสไตล์หนัง art อยู่ มาคราวนี้  

เลือกที่จะเล่าเรื่องราว ของ  สามี ภรรยาคู่หนึ่ง  กับ ความรักที่มาถึงจุดอิ่มตัว  ความรักที่รอวันหมดอายุ เนื่องจากอยูด้วยกันมา 7 ปี  จึงเกิดคำถามตามมาว่า  ความรักพอนานไปมันมีวันหมดอายุด้วยเหรอ คงไม่ต่างอะไรกับ " อาหารกระป๋องที่มีวันบอกหมดอายุ       แต่ความรักไม่มีวันบอก ต้องลุ้นกันเอาเอง"   คือหนึ่งประโยคที่หลุดจากปากของตัวละคร  วิทย์ ( สามี)   ตัวละครอีกตัวคือ เด็กสาวที่ ชื่อ พลอย  เด็กสาวผมฟู เซอร์ สภาพที่เลื่อนลอย  มารอแม่อยู่ตรงร้านบาเทนเดอร์ ข้างล่างคอนโด ของ วิทย์ และ แดง             แดง  ภรรยา ผู้สงสัยในพฤติกรรมของสามี   และมักจะตั้งคำถามในหัวตลอดเวลาว่า   ความรักที่ได้รับมันน้อยลงจริงหรือเปล่า  จนกลายเป็นความหวาดระแวงต่างๆ   จนเก็บไปฝันต่างๆนาๆ                                                                                                                   

การพบกันโดยบังเอิญของเด็กสาว พลอย   และ วิทย์     

การพบกันของตัวละครสองคนนี้ นำไปสู่เรื่องราวทั้งหมด ซึ่งยากที่จะบอกทั้งหมดมันมาจากเรื่องจริงหรือแค่ความฝัน   หรือเป็นความจริงกึ่งฝัน  ผมว่าน่าจะอย่างหลังซะมากกว่า คงไม่ใช่ความฝันซะทีเดียวเลย                 


เด็กสาว คุย กับชายแปลกหน้า   เธอขอบุหรี่ และ ดูด  เธอเอาเพลงให้เขาฟัง    การกระทำของตัวละคร เด็กสาว พลอย  แสดงออกให้เห็นภาวะที่ ตัวละครกำลังเจริญเติบโตในแบบวัยรุ่น วัยอยากรู้อยากเห็น  วัยลองผิดลองถูก    
ซึ่งเด็กสาวนั้นบางครั้งก็เป็นไปได้  อาจเป็นแต่จินตนาการของ แดง  ที่สร้างตัวละครตัวนี้ขึ้นมาในรูปแบบความฝัน   ความกังวลต่างๆ ที่กลัวว่าสามีจะมีผู้หญิงอื่น      ทำให้จิตใต้สำนึกของแดงนั้นระเบิดออกมาในรูปแบบความฝัน กึ่งหลับกึ่งตื่น  จริงบ้างฝันบ้าง     

ความฝันในสภาวะที่  เด็กสาว พลอย เห็น    ตัวละคร  บาร์เทนเดอร์หนุ่ม (อนันดา)  กับ  แม่บ้านโรงแรม   มีเซ็กซ์กัน ตลอดทั้งเรื่อง  เป็นจิตใต้สำนึกของ เด็กสาวพลอย ที่อยากจะเรียนรู้ความรักในรูปแบบวัยุร่น  เร่าร้อน  สภาวะโหยหา  ซึ่ง ตัวละครสองคน นี้ ไปขัดแย้ง และ ไปเปรียบเทียบ กับ ความรักของคู่ สามี และ ภรรยา ที่อยู่ในช่วงหมดโปร ไม่มีเซ็กต์มานาน ไม่โหยหายต่อกัน    อีกทั้งตัวละคร เด็กสาวพลอย นอกจากจะมาทำให้ช่องว่างความสัมพันธ์ ของ สามี ภรรยา       ห่างกัน  แต่ลึกๆ  เด็กสาวก็ได้ทำให้  สามี  รู้ว่า แท้จริงความรักอยู่นานไปมันก็ไม่จำเป็นต้องหมดอายุ เสมอไป   แต่ก็เกิดคำถามตามมาอีกว่า   มันจำเหรอเป็นที่จะต้อง มีเซ็กต์ด้วยกันตลอดเวลา     อาจไม่ต้องแต่ไงก็ของให้รักและเข้าใจ
กันไว้ก็พอ 
          

เรื่องราวที่  แดง  ภรรยา ถูกหนุ่มแปลกหน้าอีกคน  ชวนไปบ้าน  แล้วถูกข่มขืน เป็นความฝันในสภาวะ ที่ สามีกังวลว่า ภรรยาจะหายไป  และเก็บไปฝัน ต่างๆนาๆ    จนถึงขั้นร้องไห้ในอ่างอาบน้ำ             ก่อนที่สุดท้ายแล้วเขาทั้งคู่ก็ยังรักและอยู่ด้วยกันเหมือนเดิม                                                                                                   
ตัวละครทั้งสามมันอยู่ในสภาวะ ที่จิตใต้สำนึกแต่ละคน  เกิดขึ้นทั้งหมด        แต่ออกในจากสาเหตุที่ต่างกัน   ภรรยา ระแวง น้อยใจ      สามี  ลึกๆ เป็นห่วง      เด็กสาว   อยากรู้อยากเห็นในสภาวะเซ็กต์แบบวัยรุ่น  เร่าร้อน            


เบอร์โทรศัพท์ปริศนาของ ผู้หญิงที่ชื่อ น้อย  

สิ่งหนึ่งในหนังเราจะเห็นตอนต้นเรื่อง ที่ แดง ภรรยา  ค้นกระเป๋าแล้วเจอเบอร์โทรศัพท์ของหญิงสาวน้อย นั้นก็เป็นไปได้ว่า เกิดจาก จิตใต้สำนึกความหวาดระแวงของภรรยาที่กลัวสามีไปมีผู้หญิงอื่น    เราจะรู้เลยว่า จะมีฉากตนอที่ มีผู้หญิงน้อยมาเคาะประตูถามถึง วิทย์ สามี  แล้ว แดงไป เปิดประตู บอกรอซักครู ก่อนที่  ผู้หญิงคนนั้นจะหายไป เป็นการบอกว่าผู้หญิงชื่อน้อยอาจไม่มีอยู่จริง  ในโลกความเป็นจริง   เพียงแค่มาจากจิตใต้สำนึก      



การหายไปของเด็กสาว พลอย  นำไปสู่คำถามของใครหลายคนที่ดูเรื่องนี้รวมทั้งผม    
เป็นไปได้สองอย่างว่า   

อย่างแรก        สภาวะจิตใต้สำนึกของ แดง ภรรยา หมดไป  เด็กสาวก็หายไปด้วย คล้ายกับการบอกว่า เด็กสาวพลอย ไม่มีอยู่จริงใน โลกความเป็นจริง มันแค่จินตนาการความกังวลที่ แดงสร้างขึ้นมา         

อีกอย่าง        เด็กสาวพลอย  มีอยู่จริง  แต่เธอมารอแม่จนได้เวลาแล้วก็เดินออกไป  โดยไม่บอกไม่กล่าว 
ซึ่งผมก็เชื่่ออย่างหลังมากกว่า        แต่สไตล์หนังของ เป็นเอก นั้นจับทางยากและเหนือการคาดเดาซึ่งอาจจะให้คนดูไปตีความเองอีกที หนึ่ง  ว่าคุณเชื่ออย่างไหนมากกว่ากัน                                                                                                        

สิ่งที่ชอบคือการวางโครงเรื่องเป็นการทับซ้อนเหตุการณ์ ของตัวละครสามคน     โดยผมว่ามันเป็นเล่าเหตุการณ์แค่คืนๆเดียว 

ฉากต่างๆ มุมกล้อง ยังคงน่าสนใจ และดึงดูดผู้ชม  ถ้าใครดูหนังของพี่ เป็นเอก รับรองว่ามุมกล้องฉาก art ๆ ยังมีให้เห็นแน่ๆ       อย่างเช่นเรื่องนี้  ผมชอบ ฉากที่เด็กสาวพลอยนั่งอยู่ริมขอบหน้าต่างใหญ่     แล้วมองออกไป วิวตึกสูงๆ  ผมชอบฉากนั้นมาก  เวิ้งว้างดูพิลึก
  

"  พลอย นั้นอาจเป็นแค่  เด็กสาว  จินตนาการของจิตใต้สำนึกของ ภรรยา  ที่สร้างขึ้นมา หรื ออาจมีอยู่จริง ก็เป็นได้ "

คะแนน  B+




                                                                                        


วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ห้วงอารมณ์ของความฟูมฟาย และ ภาวะหัวใจแตกสลาย Norwegian wood

                                     Norwegian wood
                                                
                                          
                                              

                                            
                               (Japan,2010,Tran Anh hung )




บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


ห้วงอารมณ์ของความฟูมฟาย  และ ภาวะหัวใจแตกสลาย"

บทความนี้พูดถึงส่วนสำคัญของภาพยนต์ 

ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดของหนังผมขอพาไปรู้จักกับตัวละครหลักๆในเรื่องก่อน 


นาโอโกะ หญิงสาว ที่สับสน และถูกคนรักทิ้งไว้อยู่เบื้องหลังของความโดดเดี่ยว คนรักของเธอต้องมาตายจากไปอย่างไม่มีวันกลับ ซึ่งพาเธอดำดิ่งสู้ห้วงอารมณ์ความโศกเศร้าอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน  


วาตานาเบะ  ชายที่มอบความรักให้ไปด้วยหัวใจที่บริสุทธ์ซึ่งเขาไม่มีวันได้กลับมาจากเธอเลยแม้แต่น้อย  ซึ่งก็ฟูมฟายไม่แพ้กัน



กิซึกิ   ชายที่ทิ้งนาโอโกะไว้อยู่เบื้องหลังของความเจ็บปวด  และเขาก็ตายจากไปแบบไม่มีวันกลับ      เพื่อหลีกหนีอะไรบางอย่างในโลกใบนี้




มิโดริ    หญิงสาวที่เป็นด้านสว่างที่จะพา วาตานาเบะออกไปจากวงจรชีวิตที่สับสนเหล่านี้




นั่นคือตัวละครหลักๆทั้งสีในหนังเรื่อง  Norwegian wood  หนังญี่ปุ่นสุดแสนฟูมฟายเท่าที่ผมดูมา มันอาจไม่ไช่อารมณ์แบบฉากโหด หรือ ฉากรุนแรง อย่างเช่นหนัง Himizu หรือเรื่องอื่นๆ แต่ความฟูมฟายมันออกมาจากตัวละครในเรื่องนี้     หนังพูดถึงความรักในแบบ การพรัดพราก การตายจากของคนรัก  ทั้งสามเป็นเพื่อนสนิทกัน นาโอโกะ เป็นแฟนอยู่กับ กิสึกิ (เพื่อนพระเอก)  โดยมี วาตานาเบะ (พระเอก) เป็นเหมือนคนแอบชอบ นาโอโกะ(นางเอก) อยู่ฝ่ายเดียว แต่ทั้งสามเป็นเพื่อนรักกันจึงไปไหนมาไหนด้วยกัน  ผมขอเรียกว่า  วาตานาเบะก็เหมือนก้างขวางขอหน่อยๆครับ   แต่เวลาต่อมา กิสึกิ ก็ดันมาฆ่าตัวตายโดยการ เอาแก๊ซพิษฉีดรมตัวเองในรถยนต์   ผมก็ไม่รู้ว่าทำไปเพื่อส้นตีนอะไรวะ  งงอยู่มาก เอาเป็นว่า นางเอกฟูมฟายมากเมื่อรู้ว่าเขาตาย   วาตานาเบะก็ย้ายไปโตเกียว แล้วไปเจอกับ นาโอโกะ ในสภาพที่สับสนเป็นอย่างมาก  เธอกับเขามีอะไรกันในคืนวันเกิดของเธอเมื่ออายุครบ  20  ปี   ก่อนที่เวลาต่อมา วาตานาเบะจะพบกับ ผู้หญิงที่ชื่อว่า มิโดริ เป็นเหมือนด้านสว่างในชีวิตเขา แต่ในเมื่อเขายังติดอยู่ในวังวนความรักกับ นาโอโกะ เขาก็รู้สึกสับสน ก็ไม่ต่างไปกับ นาโอโกะที่ยังติดอยู่กับความรักในอดีตระหว่างเธอ กับ กึสึกิ  สุดท้ายแล้ว วาตานาเบะก็ต้องตัดสินใจ  





บอกไว้เลยว่ามันคือหนังที่ผมคิดว่าไม่ควรพลาดอีกเรื่อง  อย่างที่บอกหนังมันมีความโศกเศร้าและฟูมฟายอยู่ในระดับที่ผมว่าพีคอารมร์ของคนดูแทบจะระเบิดออกมาได้จริงๆ  หนังไม่ต้องใช้ฉากที่รุนแรง เพียงแต่ความฟุมฟายมันออกมาจากตัวละครทั้ง วาตานาเบะ และ นาโอโกะ  

ตัวละครหลักสองคนนี้ผมคิดว่า มันมีความฟุมฟายอยู่ในระดับมากพอสมควร ส่วนคนอื่นๆ ผมถือว่าเป็นองค์ประกอบเสริมในเรื่องเท่านั้น     



Norwegian wood  ผมมองอีกอย่างว่ามันเป็นหนังรักสามเศร้าแบบซับซ้อน  ซึ่งผมไม่ได้บอกว่ามันดูยากอะไรเข้าใจง่ายเสียด้วยซ้ำ ความซับซ้อนที่ว่าคือความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่องนี้    นาโอโกะ รัก กับ กิสึกิ แต่มีวาตานาเบะผู้ซึ่งรอเธออยู่ตลอดเวลา  พอ กิสึกิ ตายไป เราจะตัดตัวละครตัวนี้ออกไป เหลือแค่  วาตานาเบะ กับ นาโอโกะ สองคน  จากนั้นก็ิมีตัวละครตัวใหม่เข้ามา คือ มิโดริ ซึ่งก็ มีความสัมพันธ์กับ วาตานาเบะ   ในเวลาต่อมา หลายคนอาจคิดว่าทำไม วาตานาเบะ รัก นาโอโกะ แบบสุดหัวใจ แล้วจึงไปมีอะไรกับ มิโดริ ผมคิดว่าเขาก็สับสนอยู่ในสิ่งที่เขาทำ ฟังเหมือนดูมักง่าย แต่ลึกๆผมคิดว่า วาตานาเบะรู้อยู่แล้วว่า ต่อให้เธอกับเขามีอะไรกัน นาโอโกะก็ยังไม่เคยลืม กิสึกิ เลย  ยังพูดถึงบ่อยๆ ถึงแม้ว่า กิสึกิจะตายจากเธอไปแล้ว   เขาก็ไม่ผิดที่จะเปิดรับอะไรใหม่ๆ  แต่ลึกๆผมก็มองว่า วาตานะเบะ ก็เลือก นาโอโกะ และอยากที่จะใชัชีวิตร่วมกับเธอที่สุดเพียงคนเดียว  เพียงแค่สถานการณ์ความโศกเศร้าต่างๆพาให้ตัวละครทั้งสอง สับสน และยากที่จะออกจากวังวนที่เลวร้ายแบบนี้    


หนังยังพูดถึงเรื่องของ เซ็ก   ฉาก love scene วาบหวิวต่างๆ ทำออกมาและสวยงามจริงๆ
มุมกล้องต่างๆทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง  และดูเป็นธรรมชาติที่สุด         movement ของตัวละครค่อนข้างไปแบบเนิบช้า หรือบางครั้งก็มีแช่กล้องอยู่หลายฉาก    


เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ผมชอบความฟูมฟายของตัวละครมากๆ มันทำให้ผมรู้สึกอินไปกับหนังเรื่องนี้

โดยเฉพาะ ฉากที่ผมชอบที่สุดคงเป็น ฉากที่ วาตานาเบะ นั่งร้องไห้ตรงโขดหิน เมื่อรู้ว่า นาโอโกะฆ่าตัวตาย  แบบฟูมฟายสุดชีวิต แบบผมคิดว่ามันคือการร้องไห้ที่ผมคิดว่าทรมานที่สุดที่ผมเจอมา ฉากนั้นผมขนลุกจริงๆ ครับ      

คุ้มค่าอย่างยิ่ง กับสองชั่วโมงกว่าๆที่ สูญเสียไป ให้กับหนังเรื่องนี้  

   

คะแนน  A