วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ใจกลางของโลก ห้วงเวลา และความทรงจำ Crying out love of center the world

Crying out love of center the world






 ใจกลางของโลก   ห้วงเวลา และความทรงจำ



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์



บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนต์ 


นี่คืออีกหนึ่งภาพยนต์ที่อยู่ในใจใครหลายคน ถ้าเกิดว่าเป็นคอภาพยนต์ญี่ปุ่นแล้ว คงไม่มีใครไม่รู้จัก   ภาพยนต์ชื่อยาวอย่าง  Crying out love in center of  the world   ปี 2004  หนังรักโรแมนติกหวานซึ้งแสนเศร้าเรื่องนี้              ส่วนตัวผมหนังเรื่องนี้ยังถูกจัดให้อยู่ใน list  20 ภาพยนต์ที่ผมชอบมากที่สุดอีกด้วย                                                                                                   

หนังเรื่องนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของ ห้วงเวลาและความทรงจำของความรักชายหญิงคู่หนึ่ง    แม้อาจเป็นห้วงเวลาสั้นๆ แต่สำหรับเขาทั้งสองแล้วมันเป็นความทรงจำที่งดงามและยิ่งใหญ่มากเลยหละครับ                                                                                                                             
ตัวละคร


                      ซากุ  (saku)  เด็กหนุ่มหน้ามึน ธรรมดาคนหนึ่งที่ มีความทรงจำกับหญิงสาวที่เขารัก 



                   อากิ      (Aki)      สาวสวย เรียนดี เล่นกีฬาเก่ง  popular ที่สุดในโรงเรียน  (แต่ขี้โรค)      


                          ชิทซูกุ   (Shitsuku)             หญิงสาวคู่หมั้น คนปัจุบันของซากุ   หญิงสาวที่นำพา ซากุและ อากิมาพบกันอีกครั้งในห้วงแห่งความทรงจำ 



ในช่วงตอนที่มีการเข้ามาของพายุไต้ฝุ่นหมายเลข 29  ชิทซุกุนั้นได้ขนข้าวของออกจากเมืองไปชั่วคราว และทิ้งโน๊ตไว้ที่บ้านให้กับซากุ ว่า   ฉันจะออกไปจากที่นี่ซักพักหนึ่ง  ไม่ต้องห่วงนะ    เธอเดินออกไปซื้อเครื่องเล่น walkman เพื่อเอามาฟังกับเทปคาสเสต์    ในคืนที่มีผู้คนมากมายเต็มท้องถนน     นิ้วของชิทซูกุบรรจงกดลงบนปุ่มเครื่องเล่นเทปอย่างช้าๆ    และยืนนิ่งไปชั่วขณะเพื่อฟังอะไรบางอย่าง     เทปนั้นมีเสียงจากหญิงสาวคนหนึ่ง  พูดมาว่า " วันนี้ วันที่ 28  ฉันไม่รู้ว่าทำไมฉันจึงนอนไม่หลับ    ฉันกลัว    ฉันคิดว่า ฉันกำลังจะตาย"   ก่อนที่หนังจะพาเราไปสู่ห้วงเวลาความทรงจำเมื่อ 17 ปีก่อนของ ซากุ และ อากิ   เมื่อครั้งที่เขาเริ่มรักกัน                                                                                                                        

หนังยังตัดสลับภาพความทรงจำในวันวานกับห้วงเวลาปัจจุบันของ ซากุ ไปพร้อมๆกัน   

ซากุต้องสูญเเสียคนที่รักไป คือ อากิ จากโรคลูคิเมีย   ในวันที่ 28 ตุลาคมซึ่งเป็นวันเกิดของอากิอีกด้วย                                                                                                          

ทั้งคู่เคยไปเที่ยวเกาะทะเลแห่งความทรงจำ    ผมชอบฉากนั้นมาก   เหมือนกับว่า 
เขาสองคนหนีตามกันไป ดังที่อากิบอกว่า  ฉันไม่เคยไปไหนไกลเท่านี้มาก่อน  คล้ายๆกับ  โรมิโอ แอน จูเลียต์                                                                                                             

ชื่อ ของ ซากุ นั้นมากจากนักเขียนนวนิยายที่พ่อของเขาโปรดปราน  
           ชื่อ อากิ มาจาก ยุคหินยุคเฟื่องฟูของทรัพยากรตางๆ                                  


สิ่งที่ชอบอีกอย่างคือ  เทปคาสเสต ที่ทั้งคู่ใช้สื่อสารบอกความในใจและพูดคุยผ่านกัน  ผมว่ามันโรแมนติกมาก                                                                                                                                 
รักแรกพบ (FIRST LOVE)

หนังเรื่องนี้นั้นพูดถึงความรงจำในรักแรกของคนเราผมเชื่อว่าทุกคนเคยผ่าน moment เหล่านั้นกันมาแทบทุกคน        แล้วเคยไหมครับเวลาคุณคิดคำนึงถึงวันวานเหล่านั้น ภาพต่างๆมันย้อนมาหาคุณ มันทำให้คนสุข ขณะเดียวกันมันก็สามารถพาให้คุณเศร้าได้พร้อมๆกัน ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอดีตที่แต่ละคนจะเจอ     สำหรับ ซากุ แล้วนั้น มันเป็นความทรงจำที่ฝังลึกและยากที่จะลืมเลือนถึงแม้ว่าปัจุบันเขาจะมีคู่หมั้นแล้วก็ตาม     ไม่เพียงแต่ ตัวละคร ซากุ ที่มีความทรงจำรักแรก       ตัวละลรในหนังอีกหนึ่งคนก็คือ  คุณลุง ร้านถ่ายรูป ที่มีความทรงจำรักแรกกับ อาจารย์ใหญ่ของ ซากุและ อากิ อีกด้วย                                                                                                 

ความทรงจำของคนเรานั้นไม่เคยตายจากไปไหน

ถึงแม้ว่าคนเราจะตายจากกันไป ทุกสิ่งย่อมมีความทรงจำ  และคนคนนั้นย่อมทิ้งความรงจำเหล่านั้นไว้  เหมืือนกับตัวละครในเรื่อง  ตอนที่ อากิ บอกว่า เถ้ากระดูกของอาจารย์ใหญ่ยังอยู่ถึงเขาจะตายไป อาารย์ใหญ่นั้นยังทิ้งความทรงจำให้กับ คุณลุง ร้านถ่ายรูป นั้นคือ เถ้ากระดูกของเธอ                                                                                                                       

สิ่งที่เป็นตัวแทนความทรงจำ ของ ซากุ และ อากิ  


รูปถ่ายชุดแต่งงานที่เขาสองคนถ่ายไว้ด้วยกัน     

เทปคาสเสต์ที่เขาทั้งสองใช้อัดเสียงพูดคุยระหว่างกัน  

เสียงเปียโนของอากิที่บรรเลงให้ ซากุฟัง         

เกาะที่ทั้งสองเคยไปเที่ยวด้วยกัน  

ชิงช้าที่เขาทั้งสองเคยไปนั่งเล่นกัน 

สุสานที่ทั้งสองเคยไปด้วยกัน

ขอบปูนริมน้ำทอดยาวที่เขาเคยไปวิ่งเล่นกัน  

แม้แต่ทุกสัมผัสที่ทั้งสองเคยได้ใกล้ชิดกัน     


นอกจากภาพความทรงจำในอดีตที่ตัดสลับกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ของตัวละครเอก  ที่ทำได้น่าสนใจแล้ว นั้น Crying out love in center of the world     ยังโดดเด่นไปถึงในงานด้านภาพ แสง มุมกล้องและฉากต่างๆที่ทำออกมาได้งดงามจริงๆ คือสิ่งที่ต้องชม  บรรยากาศในหนังที่มีความฟูมฟายและ โรแมนติกผสมๆเข้าด้วยกันอย่างลงตัว                                                                           

เพราะฉะนั้น หนังเรื่องนี้สำหรับผมแล้ว ไม่ว่าจะหยิบขึ้นมาดูกี่ครั้งมันก็สามรถทำให้ผมฟูมฟายได้ทุกครั้ง                                                                                                                                                   

คะแนน   A                                                                                                                           

                                                                                                  
                                

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

" ฉันที่เธอไม่เคยมองเห็น " เธอ เขา เรา ผี



    เธอ เขา เรา ผี  




                                    " ฉันที่เธอไม่เคยมองเห็น "  


 (Thailand , 2013, ธัญญวารินทร์ )


บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


หลังจากผ่านปี 2013 มาถึงปีนี้ดูเหมือนว่าภาพยนต์ไทยจะกลับมาครึกครั้งอีกครั้ง  แต่อาจไม่ในแง่ของรายได้นะครับ แต่ในแง่มีหนังไทยให้เลือกติดตามมากขึ้น ทั้งหนังอิสระฉายแบบจำกัดโรงหรือหนังที่ฉายเข้าโรงทั่วไป  ย้อนกลับไปช่วง สองปีก่อนๆ กระแสหนังไทยนั้นค่อนข้างเงียบเชียบมีเพียงแต่ผลผลิตหนังจากค่าย gth ที่ดูเหมือนว่าจะกอบกู้หน้าหนังไทยอยู่บ้างเล็กน้อย  อาจจะมีภาพยนต์ไทยอิสระที่ทำตัวเหมือนคลื่นใต้น้ำเล็กๆที่พยามซ่อนตัวไปอย่างเงียบๆ แต่ก็ยังน้อยอยู่ดี  มาถึงตอนนี้นั้นผลผลิตจากค่ายหนังอื่นๆก็ทยอยปล่อยผลงานใหม่ๆให้แฟนภาพยนต์ไทยได้ติดตามและเลือกกันมากขึ้น   มีผู้กำกับภาพยต์รุ่นใหม่แจ้งเกิดมากมาย   ที่ว่าบูมๆตอนนี้ คงหนีไม้พ้น ผู้กำกับหนังไทยอิสระที่ผมว่าน่าจับตามองที่สุดใน พศ นี้นั่นก็คือ  เต๋อ นวพล   เจ้าของหนังสาย อาร์ต ติสแตกอย่าง  36  และ mary is happy marry is happy  ที่ไปไกลถึงเวทีเทศหนังเมืองนอกถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมครับ     ปีนี้มีหนังไทยที่นาสนใจอยู่บ้างและผมก็มีโอกาสได้ดูหนังไทยอยู่เรื่องหนึ่ง  นั่นก็คือ  เธอ เขา เรา ผี  
เธอ เขา เรา ผี  หนังไทยดีๆอีกเรื่องที่อยากพูดถึง ครับ ถ้าดูจากโปสเตอร์คงจะคิดว่า romantic comdey ชุ่ยๆ เนื้อเรื่องงั๊นๆ เสียเวลาที่จะไปดูมัน  แต่บอกไว้ก่อนนะครับครับอย่าเพิ่งคิดแบบนั้นเชียวนะ    

เพราะหนังมันอบอวลไปด้วยบรรยากาศ ของสภาะวะความรักเรื่องเพศมากมายเต็มไปหมด  ตัวละครที่ถูกจัดเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบของผู้กำกับ กลิ่นของความเป็นรักสามเศร้าในรูปแบบใหม่ที่โชยกรุ่นออกมาพอสมควร ซึ่งผมมองว่าหนังไทยไม่ค่อยจะมี     เธอ เขา เรา ผี เล่าเรื่องของ     ความรักระหว่างชายและหญิงคู่หนึ่ง โดยเอาผีมาเป็นมือที่ 3 แล้วสิ่งที่ผมชอบก็คือ  ไอ้ตัวละคร ผีที่ผู้กำกับใส่มามันเป็นผีที่มาจากไหนไม่รู้ โดยไม่ใช่แฟนเก่านางเอก หรือแบบตายแล้วยังมีความรักความผูกพันธ์ หึงหวงไม่ใช่แบบ หนังรักสามเศร้าดาษๆทั่วไป   ผีจึงเหมือนมโนจิตของตัวละครนางเอกที่อาจสร้างขึ้นมาจาสภาวะความไม่สมหวังในความรักที่สูญเสียไปจากชายที่ตัวเองรัก   ว่าอยากมีผู้ชายหน้าตาหล่อ แถมยังนิสัยดี ยอมทุกอย่าง ซึ่งเข้าข่ายผู้ชายที่ไม่มีอยู่ในโลกของความเป็นจริง  หรือมองอีกนัยยะหนึ่งตัวละคร เปิ้ล ชายแสนดี มือที่สาม อาจมีจริงในเรื่องราวแต่มันก็คือผี  ผีจึงเปรียบสิ่งที่ไม่มีตัวตน คนมองไม่เห็น
หนังยังใส่ความโหยหาเรื่องของเพศของตัวละครอีกด้วย ตัวละครในเรื่องเต็มไปด้วยทุกเพศ  ชาย  หญิง เก้ง กวาง กระเทย   (ยกเว้นทอม)  ซึ่งพวกเขาเหล่านี้จะว่าไปคือสิ่งมีชวิตที่เรียกว่ามนุษย์ จะเพศไหนก็คือมนุษย์ ปัจจัยที่อยู่อยู่คู่กับมนุษย์เราก็คือเพศนี่แหละ  ซึ่งไม่แปลกที่ตัวละครเหล่านี้จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เกี่ยวกับเพศ  นั้นหมายความว่าฉากหลายฉากในเรื่อง เราจะเห็นการที่ตัวละครพูดถึงเพศ บ่อยๆ เพียงแต่ผู้กำกับไม่ใส่มาจนรกเกินไป ผมมองว่ากำลังพอดี   แม้แต่ผี  มนุษย์ที่ตายไป แต่ก็ยังต้องการเรื่องเพศจาก ตัวละครนางเอก อาจเพราะจิตวิญญานยังคงโหยหาเรื่องความรักที่เขาไปสุญเสียไปก่อนตาย กับแฟนคนเก่าอยู่    
 เปิ้ล ผมมองว่าตัวละครตัวนี้  ช่างเหมาะกับผีซะเหลือเกิน คุณสมบัติมากมายที่พร้อมจะให้เปิ้ล เหมือนตัวละครผี    ก็คือ  ชายแสนดี  โรแมนติก  ยอมทุกอย่าง  ซึ่งมันไม่มีในโลกความเป็นจริงของผู้ชายทั่วไป คือ ดีเกินไป ไน่าจะเป็นไปได้   การที่เปิ้น โดนแฟนเก่าทิ้งแล้วเขาฆ่าตัวตาย ก็เหมือนกับการที่เขาไม่ตัวตนในสายตาคนทั่วไป มีอยู่แต่มองไม่เห็น แม้แต่แฟนของเขา  เข้าข่าย ผี ผีเป็น ตัวตนที่คนเรามองไม่เห็น  แต่ผีอาจมีความรู้สึกเพียงต้องเก็บซ่อนไว้  


บรรยากาศความหลอนในหนังที่ดูเหมือนวาผู้กำกับจะไม่ได้ตั้งใจใส่มันมาซักเท่าไหร่  เพราะเขาต้องการสื่อในเรื่องของความรักซะมากกว่า ความหลอนจึงเป็นแค่บรรยากาศประกอบประปายในเรื่องเท่านั้น  และถูกแทนที่ด้วยบรรยากาศความโรแมนติกแบบเหงาๆ ถือว่าทำได้ดีเดียวครับ

สิ่งที่ชอบ คือ 1  บรรยากาศในหนังโดยรวามที่ ถือว่าค่อนข้างทำออกมาได้เป็นธรรมชาติ
2 ประเด็นการนำเสนอ ความรัก กับ เรื่องของเพศ

3 ตัวละคร เปิ้ล ผี   ที่ทำออกมากลมกลืนกับคาแรกเตอร์ ผีแสนดี
4 กลิ่นของความเป็นรักสามเศร้าที่ผมมองว่าใหม่  สำหรับเรื่องนี้


สิ่งที่ไม่ชอบ ก็คือ 1 ความไม่สมจริงในเรื่องของความรักที่ ดูเหมือน ตัวละครนางเอกรู้สึกตัดใจง่ายไปซักหน่อย กับชายคนรักเธอ (พระเอก) และยอมมีความรักครั้งใหม่กับผี (หรือมโนที่สร้างขึ้นเอง) ง่ายไปเร็วไป ผิดหลักของคนที่รักกันมานาน
ตัวละคร หรั่งที่ดูเหมือนว่าจะรักนางเอกมากทั้งที่ตัวละคร นางเอก (ส้ม) ยอมตัดใจจากเขาไปแล้ว  แต่หนังรู้สึกทำให้เรารู้ว่าหรั่งรักส้มมากเกินไป ไม่สมกับ ส้มที่ดูเหมมือนว่าจะยอมให้รักครั้งใหม่เข้ามาเร็วเกินไป   ทำให้คนดูไม่รู้สึกซึ้งหรืออินไปกับเรื่องราว  ความรักของคนคู่นี้ซักเท่าไหร่  หนำซ้ำยังผลักดันให้คนดูไปเชียร์ความรักของส้มกับ ผีซะมากกว่า จึงทำให้รูู้สึกประดักประเดิกเล็กน้อย
2 มุขตลกในหนังที่บางฉากที่รู้สึกว่ายังฝืดๆอยู่

แต่ถ้ามองภาพรวม  เธอ เขา เรา ผี คือหนังไทยที่งดงามและมีประเด็นการนำเสนอที่น่าสนใจอีกเรื่องครับ


คะแนน  B   




" ถ้าเรามัวแต่ตามคนอื่น ตัวเราเองจะสูญหาย" Marry is happy Marry is happy


Mary is happy Mary is happy



(Thailand ,2013, เต๋อ นวพล)


" ถ้าเรามัวแต่ตามคนอื่น  ตัวเราเองจะสูญหาย"


บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์



บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนต์

ก่อนหน้านี้ผมเห็นภาพตัวอย่างจากหนังเรื่องนี้ก่อนที่จะเข้าโรงฉายแบบจำกัด  จากนิตสาร bioscope ฉบับหนึ่ง  นิตยสารคนรักหนังโดยเฉพาะ    แล้วมองเห็นว่า นี่คือหนังใหม่ของ เต๋อ นวพล   อย่างแรกเลยที่คิดในใจ    รีบๆเข้าโรงเถอะนะผมจะรีบไปดู   กระแสของ mary is happy  mary is happyยังถูกพูดถึงมากมายในวงการหนังไทยอินดี้    อย่างแรกผมดีใจที่นักดูหนังรุ่นใหม่ๆ เปิดใจและให้ความสนใจกับหนังทางเลือกของบ้านเราเยอะขึ้น     ในยุคที่โลกนั้นหมุนไปเรื่อยๆ มันย่อมมีสิ่งใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรื่อยๆครับ เฉกเช่นเดียวกับธรุกิจของภาพยนต์ไทยอิสระ และภาพยนต์ เรื่องนี้ก็ถือกำเนิดมาอย่างเงียบๆ   ครับ                                            
นี่เป็นผลงานลำดับ 2แล้ว ของผู้กำกับหนังอิสระที่น่าจับตามองที่สุดใน พศ นี้  เต๋อ นวพล   ผู้กำกับที่ได้ขึ้นชื่อใช้ภาพในการเล่าเรื่องราว พร้อม text สวยๆ  บรรยายประกอบฉากในแต่ละฉาก จะเห็นได้จากผลงานเรื่องแรกอย่าง 36  หนังที่มีความยาวเพียงชั่วโมงเศษๆ เท่านั้น  มาถึงเรื่องนี้  Mary is happy mary is happy  ยังใช้สูตรเดิมเช่นเคย     ความสะเปะสะปะ ความไม่ปะติดปะต่อในเรื่องราว ที่ดูเหมือนว่าจะทำออกมากลายเป็นหนังอาร์ตแฝงนัยยะอย่างแปลกประหลาด การเล่าเรื่องที่ดูแปลกและแตกต่างไปจากหนังไทยเรื่องอื่นๆอย่างสิ้นเชิง    แต่ทว่าความแปลกและแตกต่างนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความน่าสนใจจากแฟนหนังรุ่นใหม่ๆ รวมไปถึงนักวิจารณ์ภาพยนต์        ได้พอสมควร   และยังไปไกลถึงเวทีต่างประเทศถือว่าไม่ธรรมดาเอามากๆครับ   

บอกก่อนว่าหนังเรื่องนี้ถูกสร้างจากทวิตเตอร์ของ แมรี่ จำนวน 410 ข้อความ 
2 ชั่วโมงเศษๆ มีอะไรเกิดขึ้นและอยู่ในหนังสุดแนวเรื่องนี้บ้างเรามาดูกันเลยครับ   
marry is happy mary is happy นั้นเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ ชีวิตประจำวันในโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง ของ สองสาว  แมรี่ และ ซูริ โดยมุ่งไปที่ตัวละครหลักอย่าง แมรี่  สาวสุดแนว  อารมณ์ติสต์ ช่างฝัน   ที่อยู่ในช่วงกำลังจะจบจากมัธยมปลาย และทั้งสองคิดจะทำหนังสือรุ่น เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับโรงเรียน ก่อนจะลาจากไป   แล้วไอ้โรงเรียนที่ว่า uniform หน้าตาโครตจะประหลาดคือ ชุดสีแดงสลับขาวคล้ายชุดเชียร์ลีดเดอร์เมืองนอก   กระเป๋าสีแดงสด ราวกับว่าถูกทาสี  แมรี่นั้น หลงรักผู้ชายคนนึงที่ชื่อ m (มอร์ ten to 12 )  คนที่เธอเจอเขาครั้งแรกที่ร้านขนมโตเกียว  หลังเลิกเรียน  ทุกเย็นเธอจะมารอเขา    แต่ในเรื่องนี้มันไม่ได้มีอยู่แค่นั้นหนังยังซ่อนลายระเอียดที่หลบอยู่ในความสามัญดาษดื่น  ของเรื่องราวอีกมากมาย
จะว่าไป mary is happy  mary is happy มันเหมือน ไดอารี่ที่เล่าเรื่องของ  เด็กสาวคนนึง จำนวน 410 ฉบับเรื่องราวที่ทำออกมาแบบไม่ประติดประต่อ  จับต้องไม่ได้มากนัก แต่ความน่าสนใจอยู่ที่วิธีการนำเสนอ ของ เต๋อ ผ่านมุมมองตัวละคร เด็กสาววัยรุ่น ตัวละครที่อยู่ในช่วงกำลังพ้นวัย (coming of age)  แมรี่ที่ต้องเจอเรื่องต่างๆ มากมาย  ความสัมพันธ์กับเพื่อนรัก ซูริ   งานหนังสือรุ่นที่รับมอบหมายให้ทำ   และเรื่องความรักของเธอกับเด็กหนุ่ม    สิ่งเหล่านี้มันผ่านเข้ามาพร้อมๆกัน ทำให้เด็กสาวต้องเรียนรู้ และเจออุปสรรค และต้องผ่านมันไปด้วยดี

ตัวละคร แมรี่ ทำหน้าที่ของอารมณ์และความรู้สึก มากกว่า เหตุผล 
แมรี่เป็นเด็กอินดี้  ช่างฝัน ช่างจินตนาการ เวิ่นเว้อ มีวิธีคิดที่ผมมองว่า ตัวละครตัวนี้มันมีความน่าสนใจ  และแตกต่างจากเด็กสาวคนอื่นๆ   ตัวละครที่มีคำถามในหัวตลอดเวลาว่า ทำไมต้องเป็นแบบนี้ เพราะอะไร  ซึ่งเราจะได้ยินประโยคพวกนี้หลุดออกจากปาก วัยรุ่นช่างสงสัย  วัยที่กำลังเรียนรู้อะไรบางอย่าง  บางครั้งแมรี่ก็ดูเหมือนว่าจะใช้อารมณ์ความรู้สึกดิบๆในตอนนั้นทำในสิ่งที่เธอต้องการ เพราะอยากทำแบบนั้น  หลายฉากคนอาจจะคิดว่า ทำไมแมรี่ต้องทำแบบนั้น อาทิ ฉากที่แมรี่ กับ ซูริ ไปปล้นเค๊กเพราะอยากกินเค๊ก หรือหลายๆฉากก็ตามแต่  หรือพูดบางสิ่งออกมาที่ผู้ใหญ่หลายคนฟัง อาจจะไม่เข้าใจและดูเหมือน ไร้แก่นสารไม่มีเหตุผล เลื่อนลอย ก็เพราะอารมณ์เธอตอนนั้น อารมณ์ที่อาจยังไม่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์  
ที่ผมพูดอย่างนี้เนื่องจากหนังมันเต็มไปด้วยความรู้สึก ความไม่แน่นอนในชิวีตคนเรา  บางสิ่งที่เราอาจหาเหตุผลจากมันได้ บางสิ่งที่มันถูกกำหนดมาเป็นแบบนั้น และเราไม่สามารถหาคำตอบจากมันได้   เช่นฉาก รางรถไฟ บทสนทนระหว่าง แมรี่ กับ ซูริ ดังขึ้น  แมรี่ถามซูริ ว่า ทำไมเราต้องเดินรางขวา เพราะเราถูกำหนดให้เดินรางขวา แล้วถ้าเราขัดขืนขะเดินรางซ้าย มันจะเกิดอะไรขึ้น  แล้วคำถามต่อมาทำไมเราไม่เดินรางซ้ายตั้งแต่แรกละ หรือ สิ่งที่แมรี่พูดว่า ถ้าเกิดว่าตื่นมาแล้วอยากกินก๋วยเตี๋ยวมันต้องมีเหตุผลปะ    คือจะบอกทุกอย่างมันไม่มีเหตุผลอะไรตายตัวนักหรอก แม้แต่ความรักของแมรี่ ที่ไม่สามรถคาดเดาอะไรได้เลย
ถึงขนาดแมรี่ยังหาหนังสือสูตรคำนวณความเป็นไปของอนาคต   แต่แล้วสิ่งเหล่านี้นั้นถูกมองว่าไม่มีจริงเป็นเพียงแค่จินตนาการเสริมแต่งของ ตัวละครแมรี่เท่านั้น   
ในหนังยังพูดถึงวิชาหนึ่งที่เกี่ยว กับ ประวัติผอ  จึงถูกตั้งคำถามขึ้นมาว่าเราเรียนวิชาเหล่านี้ไปทำไมกัน หรือความจริงมันถูกกำหนดในหลักสูตรว่าต้องเรียน คำถามตามมาถ้ามีในหลักสูตรจริงแล้ว เรียนไปแล้วได้อะไร   มีคำถามวนเวียนมากมายของชีวิตคนเราว่า ทำไมต้องแบบนี้ ทำไมต้องแบบนั้น   อยู่เรื่อยไปซึ่งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าแท้จริงแล้วโลกนั้นตั้งคำถามกับทุกสิ่ง หรือบางสิ่งในชีวิตของคนเรามันก็หาคำตอบไม่ได้หมด  อาจจะเป็นเพราะกฏของจักรวาลที่กำหนดไว้แล้ว                              
สิ่งที่เป็น conflict อุปสรรค กับตัวละครแมรี่ อาจจะเป็นเรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตแมรี่ ทำให้ตัวละครตัวนี้ มีช่วงเวลาที่ค่อนค่างเคว้งคว้างสับสนอยู่พอสมควร    ซูริเพื่อนรักของเธอตาย   รักไม่สมหวัง  แถมยังมีงานหนังสือรุ่นที่ต้องทำให้เสร็จก่อนจะจบอีกด้วย     ถ้ามองย้อนกลับไปผมว่าวัยรุ่นหลายคนมันต้องเคยผ่าน confuse moment ในอดีตกันทั้งนั้น
   
สิ่งที่ชอบคือ พี่เต๋อ นวพล หยิบเอาเรื่องใกล้ตัววัยรุ่นมาเล่า แบบไม่ปรุงแต่ง ซึ่งนี่แหละผมมองว่า วัยรุ่น  ชีวิตวัยรุ่นเต็มไปด้วยความ เวิ่นเว้อ ช่างฝัน ความไร้แก่นสาร ความอยากรู้อยากเห็น การทดลอง   สภาวะทางอารมณ์มากกว่าเหตผล  แม้แต่ความรักแรกเริ่ม ซึ่ง dialouge ก็มาแบบดิบๆ มีคำแสลงแบบไม่เสริมแต่งของตัวละคร  สิ่งที่เราได้ยินกันในชีวิตประจำวันจากปากวัยรุ่น มันก็เป็นแบบนี้แหละ  ซึ่งบางครั้งคนเรามองข้าม detail เหล่านี้ไป    นั้นคือสิ่งที่ผมชอบและ เต๋อ นวพลก็ทำออกมาให้เห็น    แต่ในความธรรมดาพี่เต๋อยังใส่ ความ surreal ของฉากมากมาย

หนังเรื่องนี้ยังได้ อาทิตย์ อัสสรัตน์   ผู้กำกับหนังเรื่อง wonderful town มากำกับภาพ ด้วยซึ่งไม่แปลกเลยที่จะเห็นหลายๆฉากที่ดูแล้วสวยเป็นธรรมชาติ  
นักแสดงรับเชิญทำได้ดีเกือบทุกคน อาจารย์ประจำวิชาของโรงเรียนนี้ ชอบสุดคงเป็น อ โฮมรูม พี่น้อย วงพรู แกเล่นฮาดี  มาแบบนิ่งๆแต่ขำครับ  มีพี่เล็ก greesy cafe เล่นเป็น อ ถ่ายภาพ     มีพี่ คงเดช อ สอน drama  พี่ คุ่น ปราบดาหยุ่น อ กิจกรรม   ซึ่งชิงออกจากโรงเรียนนี้ก่อน     มี ผอ ผู้ซึ่งหนังกล่าวไว้แต่ไม่ได้ออกฉาก  พี่ สุกี้  

โดยรวม แล้ว มันไม่ใช่หนังติสต์แตกดูยากอะไรนักหรอกตามความรู้สึกผม มันเรียบง่ายมากเพียงแต่มีการนำเสนอที่แปลก น่าสนใจ  และแตกต่าง จากหนังไทยเรื่องอื่นๆเท่านั้น     mary is happy  mary is happy อาจเป็นเพียงส่วนประกอบของ กระดาษจำนวน 410 ข้อความทวิตเตอร์ ที่ดูเหมือนจะสะปะสะปะ แต่ก็มารวมๆ จนได้  สมุดไดอารี่เล่าเรื่องราวของเด็กสาว  แต่จะว่าไปมันก็เป็น สมุดไดอารี่ที่แสนงดงาม และพร้อมให้คุณเปิดอ่าน เสมอ  


คะแนน A








วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

" ในคืนหนึ่งผมมองขึ้นไปบนท้องฟ้า แต่ดวงดาวมันหายไป" Submarine

Submarine  


" ในคืนหนึ่งผมมองขึ้นไปบนท้องฟ้า แต่ดวงดาวมันหายไป"

(U.K,2010, Ricard ayoade)




บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์




บทความนี้เปิเเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนต์  

ถ้าจะมีหนังเรื่องไหนซักเรื่องทีดูแล้วมันตรงกับผมมากที่สุดคง หนีไม่พ้นหนังที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้ครับ  
submarine  หนังอินดี้เล็กๆ จากเกาะอังกฤษ  ผลผลิตจากค่าย  UK FILM  หนึ่งในหนังของเทศกาล sundance film festival   ปี 2010 ครับ ซึ่งต้องบอกก่อนว่า ก่อนหน้านั้นผมเคยดูหนังเรื่องนี้มาแล้วแบบผ่านๆ แต่ตอนนั้นที่ได้มามันเป็น sub อังกฤษมันจึงยังไม่อินเท่าที่ควร พอได้แบบแปลไทยมา สว่างขึ้นมาทันทีครับ     


Submarine หนังที่เล่าถึง ชีวิตของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่ง ที่ชื่อว่า  โอลิเวอร์ เทต  เด็กหนุ่มที่คิดว่าเค้าคือปัจเจกบุคคลที่มีตัวตนอยู่บนโลกใบนี้   มีชีวิตที่เดียวดาย แปลกแยกจากคนรอบข้าง มักจะถูกแกล้งจากเพื่อนๆอยู่บ่อยๆ เขากำลังจะเรียนรู้ความรักครั้งแรกกับเด็กสาวคนหนึ่งที่ใส่เสื้อกันหนาวสีแดง  อีกทั้งยังต้องคอยประคับประคองความรักความสัมพันธ์ของพ่อแม่ที่อยู่ในช่วงระหองระแหงอีกด้วย          จะว่าไปมันคือหนังที่ว่าด้วยเด็กวัยรุ่นชายคนหนึ่ง ที่อยู่ในช่วงค้นหาตัวเอง   ในเรื่องความรัก หรืออะไรก็แล้วแต่ มีสิ่งต่างๆผ่านเข้ามาในชีวิตของเขา  หนังเต็มไปด้วยสภาวะการค้นหาตัวเอง และการทดลองของตัวละครเอก   วัยรุ่นที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของสิ่งต่างๆที่กำลังจะเข้ามา สิ่งที่ผมชอบของหนังเรื่องนี้ีก็คือ อารมณ์แบบ coming of age เล่าเป็น charpter ๆ ไป  plot เรื่องที่ดูง่าย แต่สนุก ภาพสวย   หนังยังใส่สภาวะความเค้วงคว้างของตัวละครเอกได้อย่างดีเยี่ยมที่ดูแล้วไม่รู้สึกหม่นเพียงแต่มันแค่ช่วงเวลาหนึ่งสั้นๆ ที่วัยรุ่นต้องเจอปัญหาที่มันถาถมเข้ามา แล้วสุดท้ายเขาก็ผ่านไปด้วยดี                                                                                                            
ปัจเจกบุคคล

ปัจเจกบุคคล    คำนี้มีความหมายว่า   มนุษย์ผู้ซึ่งมีอะไรที่แตกต่างจากคนอืนๆ     มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งแท้จริงแล้ว คนทุกคนนั้นย่อมเป็นปัจจเกบุคคลในตัวเองด้วยกันหมด ทุกคนย่อมมีอะไรที่ไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่ามีมากมีน้อย  แต่สำหรับ โอลิเวอร์ เทต  นั้น ย่อมมีความเป็นปัจเจกบุคคลค่อนข้างสูง  ผมจึงชอบตัวละครตัวนี้มากๆ คือหนังเลือกที่จะเอา ชายหนุ่มทีมีบุคลิกเนิร์ดๆ อินดี้ๆ หน่อยๆ ไม่ใช่พวกหนุ่มหล่อบาดใจสาว หรือพวกฮีโร่ไร หรือเจ้าชายเหมือนซีรี่ย์เกาหลีทั่วไป    ซึ่งสะท้อนออกมาว่า ซึ่งตะครแบบนี้นั้นแรกๆก็จะเขินๆเวล่อยู่กับสาวพอไปซักพัก ทำสำเร็จพวกเขาดูจะมีความมั่นใจขึ้น  และทำอะไรที่เท่ๆตามมา  ซึ่งพอดูหนังเรื่องนี้จบ นี่มันตัวผมชัดๆ ผมก็เคยเป็นอย่างกับ โอลิเวอร์เทต จึงไม่แปลกใจอะไรที่ดูแล้วจะอินไปกับมัน สิ่งที่ชอบต่อมานั่นก็คือ  dialoge ของหนังเรื่องนี้ที่ทำให้หนังมีความสวยงาม ในหลายๆคำพูด      

"  ทุกเช้า ผมชอบมารอที่นี่   รอที่เดิม  รอจนกว่าท้องฟ้าจะมีอารมณ์เดียวกับผม "    เป็นประโยคที่ผมชอบมากที่สุดในหนัง อยู่ในตอนท้ายๆของเรื่องนี้ 

เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะชื่นชมโดยรวมของหนังเรื่องนี้นั้นไม่ได้อยู่ที่ plot เรื่องเพราะผู้กำกับได้ได้ตังใจจะโชว์เทคนิคอะไรให้มันซับซ้อน   แต่จะเป็นในด้านอารมณ์และความสวยงามมากกว่า

หนังเรื่องนี้จึงเหมาะแก่วัยรุ่น ผู้เปลี่ยวเหงาเป็นอย่างมาก



"  บางครั้งผมก็ชอบจินตนาการ ถึงปฎิกริยาของคนรอบข้างที่มีต่อตัวผมเวลาที่ผมหายไปจากโลกใบนี้"  


ปล เพลงประกอบได้ Alex turner นักร้องนำวง Arctric monkeys มาร้องและแต่งให้กับหนังเรื่องนี้อีกด้วย


คะแนน  A