วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เสียงเพลงจากสวรรค์ The Sound of music

 The Sound of music




(Robert Wise,1965 )

"เสียงเพลงจากสวรรค์ "


บทวิเคราะห์ และ วิจารณ์


บทความนี้การเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของหนัง


หนังโครตจะเก่า ย้อนกลับไปก็ 51 ปีที่แล้ว บวกลบไปก็ครึ่่ง ศษวรรต นักแสดงนำก็รุ่นตารุ่นยายกันแล้ว เด็กสุดในเรื่องก็ยังเป็นวัยคุณป้าผมอยู่ดี 555 เดี๋ยวนี้ดูหนังคน generation เก่าๆ แล้วมีความสุข อยากเกิดยุคนั้นจัง ยุคที่ไม่ต้องปรุงแต่งอะไรทั้งสิ้น มีความสุขจากเสียงเพลงและธรรมชาติ

รู้สึกว่าจักรวาลภาพยนตร์สมัยก่อนมันมีสเน่ห์จัง ยิ่งเป็น Musical film ด้วยละก็ไม่ต้องพูดถึงครับ และหนังเพลงรุ่นๆใหม่ๆ ก็ได้รับสิ่งที่ตกทอดจากโลกภาพยนตร์สมัยเก่ามาไม่มากก็น้อย พวก A Cross the universe , God help the Girl หรืออีกหลายๆเรื่อง

The Sound of music ได้พาผมหลุดเข้าไปในบรรยากาศช่วงยุค 30 รู้สึกเห็นบ้านคฤหาสน์ใหญ่ๆ นึกไปถึงพวกบ้านทรายทอง เราว่าหนังเรื่องนี้มันมีอารมณ์เหมือนละครน้ำเน่าพอสมควร ถ้าพูดกันตามตรง นางเอกเป็นหญิงสาวที่โซซัดโซเซมาอยู่ในบ้านหลังใหญ่ มาเจอ อีตาพระเอกขี้เก๊ก วางมาด แล้วเธอต้องไปดูแลลูกๆ ของเขาแทนแม่ของเด็กๆที่ตายไปนานแล้ว หนีหลบหน้าไปพักหนึ่งเพราะมีนางอิจฉามาขัดขวาง สุดท้ายกลับมาพิชิตใจเขาแต่งงาน เป็นครอบครัวใหม่ แต่เราว่าความ wonderful ของหนังเรื่องนี้ ไปอยู่ที่จังหวะของ เพลง ลีลาของตัวละครที่หนังก็ต้องการ focus คือ การร้องเพลงตามเรื่องราวของตัวละครในเหตุการณ์ เหมือนชื่อหนังคือ The sound of music เราจึงคิดว่าดนตรีและบทเพลงนี่แหละทีเหมือนกับเพื่อนแท้ของอารมณ์ของมนุษย์เราทั้งหมด จะสุข จะเหงา จะเศร้าบทเพลงเหมือนมิตรที่ไม่เคยจากเราไปไหนบอกให้เรารู้ว่าโลกนี้ควรมีบทเพลง มันเป็นสุนทรียะที่อยู่คู่โลกนี้มานานช้านาน ไม่ต้องอะไรครับเราได้ยินเสียงเปล่งร้องจากสัตว์ตามธรรมชาติเราว่ามันยังไพเราะเลย เช่น เสียงไก่ขันในตอนเช้า เสียงนกร้องตามป่า หรือเสียงจั๊กกะจั่น อะไรพวกนี้ แล้วบทเพลงคือ ท่วงทำนองที่ถูกขับกล่อมมาจากมนุษย์มันจะจับจิตขนาดไหน


เราว่าทุก scene ที่หนังเดินเรื่องกับบทเพลงเราว่าสวยงามทุกฉาก ติดใจฉากที่เด็กๆในบ้านร้องเพลง อำลาก่อนเข้านอน นี่น่ารักเสียจริงๆ ตอนร้องว่า Cuckoo cuckoo นี่สุดๆ
งานภาพนี่ก็สวยงามละมียดละไมสุดๆ ฉากที่นางเอกพาเด็กไปร้องเพลงบนเนินเขาดีดกีตาร์นี่ คิดในใจขอทำเป็น ภาพนิ่งได้มั้ย55 ไรจะขนาดนี้


โดยรวมสมแล้วที่ Oscar จะสดุดีหนังเรื่องนี้โดยการให้ได้เข้าชิงถึง 10 สาขา ก่อนจะได้มาครึ่งหนึ่งในสาขาที่ชนะเลิศ เราว่าเป็นหนังเก่าที่ควรจะอยู่คู่กับโลกภาพยนตร์ต่อไปครับ


ระดับความชอบ A







วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

“ความงดงามที่น่าสะอิดสะเอียน” The Neon Demon

                The Neon Demon


 (2016,Nicolas Winding Refn )


บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์

Cool film , The best visual of the year

บทความนี้อ่านได้ครับ ไม่สปอย

คงจะเป็นหนังแห่งปีสำหรับเราอีกเรื่อง เชียร์ให้ไปถึงออสการ์เลยนะ อย่างแรกเลยนะครับ เราตกตะลึง ไปกับงานภาพ การสรรสร้าง องค์ประกอบศิลป์ต่างๆ วิธีการตัดต่อ รวมไปถึงการใช้แสง หลาย scene เราถึงอ้าปากค้าง แม่งจัดจริงครับ บอกเลย นี่คืองานใหม่สุดเปรี้ยวของ Nicolas winding ผู้กำกับ หนังพีคๆอย่าง Drive , Only god forgive เราว่าพี่แกไม่ได้เพลาความหนักมือในเรื่องของความจิตเลยนะ แต่สำหรับ The Neon demon แกคงใส่ใจในเรื่องของ การ design ศิปล์อย่างมาก เหมือนชื่อเรื่องและโครงPot หลักๆ ที่นำเอาประเด็นความสวยงามของของผู้หญิงมาเล่น มาชำแหละให้คนดูเห็นถึงแก่นลึกเลยก็ว่าได้

วิเคราะห์ ชำแหละและ ผ่าซีก

หนังมันพูดถึง โลกของผู้หญิง ตัวแทนของความสวยงาม ถ้าเราพูดถึงมนุษย์เพศหญิง เราจะมองเห็นทั้งสองด้านครับ ด้านแรกเราจะนึกเห็น คือ ความอ่อนโยน ความงาม ตัวแทนในด้านบวก อีกด้านคือ ความริษยา ความร้ายกาจ ตัวแทนในด้านลบ เหมือนที่มนุษย์เพศชายบอก ผู้หญิงสวยได้สองแบบ แบบนางฟ้า กับ แบบนางมารร้าย แล้วแต่ว่าสถานการณ์และอารมณ์ตอนนั้นจะเป็นแบบไหน หรือแม้แต่กุหลาบสวยแต่ก็ยังมีหนาม

นอกจาก หนังพาไปสำรวจด้านมืด ความวิปริตของเพศหญิงแล้วนั้น หนังยังเปรียบเปรย ถึง เรื่องของ นางแบบ อาชีพที่ถูกมองว่า เป็นคล้ายตัวแทนหุ่น รูปปั้นที่เดินได้ ถูก make up เสริมแต่งตาม concept ที่ต้องการ แต่งให้ร้ายมันก็ร้าย แต่งให้แปลกมันก็แปลก แต่งให้สวยสง่าก็งดงามดีเชียว เราจึงมองคล้ายกับ ไอ้พวก make up อะไรต่างๆ เหมือนกับการฉาบตัวตนที่ไม่ใช่ real ของเราจริงๆ ภายใต้สิ่งที่ห้อหุ้มไว้ ความสวยงามที่ดูยโสหลอลกลวง ที่กลบเกลื่อนธรรมชาติแท้ของคนเรา เปลือกนอกเรามองอีกอย่าง ตัวจริงก็อาจเป็นคนละเรื่อง เราจึงบอกว่าไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่า ความงามที่เรามองเห็นอยู่ นั้นบางทีอาจกลายเป็นสิ่งที่ดูน่ากลัว น่าขยะแยง เฉกเช่น ตัวละครผู้หญิงนางแบบในเรื่อง การที่มี make up บนหน้า มันก็อยู่แค่บนผิวหนัง แต่ เลือดเนื้อจริงๆของเรานั้นอยู่ภายในร่างกาย ซึ่งตรงนี้หนังมันก็สะท้อนออกมาได้อย่างชัดเจน หลายๆฉาก Runway นางแบบ, เก้าอี้กำมะหยี่หรูหรา, ทองคำที่ทาทับตัวนางเอก , สีสันไฟต่างๆมันก็ถูกคนเราประดิษฐ์ และ set มันขึ้นมาอีกที ผมถึงบอกว่าใน The Neon demon เต็มไปด้วยสิ่งที่ เสริมแต่ง สร้างหลอกและลวงธรรมชาติตัวตนเรา หรือแม้กระทั่ง ผู้หญิงในเรื่อง ยังมองหน้ากันด้วยเสียตาที่ดู fake ไม่จริงใจ คำถามต่างๆที่ เสียดสี แทงใจกัน

พูดถึงการดำเนินเรื่องนั้น เราว่าหนังสอบผ่านฉลุย ทุกนาทีเราว่าหนังสามารถพาเราไปเจอะไรต่างๆที่เราไม่สามารถคาดเดาได้เลย ด้วยบรรยากาศ soundtrack หลอนๆ ความป่วยไข้ต่างๆของตัวละคร ซึ่งมีหลายทีที่หนังพาเราไปถึงจุดที่โครตจะบ้ามาก ยังงงอยู่ว่าหมอนี่มันเอาเราขนาดนี้เลยเหรอ


รวมๆ ถือเป็นงานที่ดีที่สุดในปีนี้เลยก็ว่าได้ครับ สำหรับ The Neon demon ถ้าไม่มีเรื่องไหนมาเหนือเมฆอีกนะ เราว่านี่แหละคงจะเป็น Oscar ในใจเราไปเลย ดูเถอะครับผมไหว้และ


ระดับความชอบ A




วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

“คุณเป็นเพียงแค่คนเดียวที่ทำให้ผมรู้สึกอยากตื่นขึ้นมาในทุกๆเช้า” Me Before you


Me Before you



“คุณเป็นเพียงแค่คนเดียวที่ทำให้ผมรู้สึกอยากตื่นขึ้นมาในทุกๆเช้า”

(U.k, Thea Sharrock, 2016 )

บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์



โหหนังดีจัง ถึงจะเป็น Sad story ก็เหอะ แต่หลายๆโมงยามในหนังก็โครตจะโรแมนติก ชวนฝัน อย่างเหลือเชื่อ ทำเอาเราจั๊กกะจี๋หลายๆ ตรงเลยทีเดียวเลยครับ ด้วยความที่มันเป็นหนังที่ดูจะเศร้าสร้อย ตัวละครพระเอกเป็นบุคคลทุพพลภาพ แต่เราว่า Me before you มันพยายามเดินอยู่ในกรอบทางหนังแบบ rom- com โลกสวย ตลกบ้าง ไม่ฟูมฟายมาก พูดง่ายๆคือ ให้กำลังใจคนดูและตัวละครอย่างมีความหวัง เหมือนตอนเราดู Fault in Our stars "จงมีความหวังในวันที่สิ้นหวัง จงหัวเราะให้ดังสุดขีดในวันที่น่าจะร้องไห้ จงอยู่ให้เหมือนเป็นอมตะในวันที่ใกล้ตาย จงลุกขึ้นสู้ในวันที่หมดแรง " ประมาณนี้

Love Change The world or World must be love

ความรักเปลี่ยนแปลงโลกหรือโลกต้องมีความรักเป็นองค์ประกอบ

มีหลายๆคนเคยพูดว่า ความรักนั้นสามารถเลี่ยนแปลงโลกได้ อันนี้ผมเชื่อนะ ถ้าเราศรัทธาและมองเห็นมันจริงๆ เราว่ามันเป็นสิ่งที่แสนวิเศษและสวยงามมาก รักยังเป็นยาที่สามารถบรรเทา Disease อาการเจ็บป่วยได้ โรคต่างๆ ได้ แน่นอน ความรักตามพื้นฐานจะไมสามารถบรรเทาความเจ็บป่วยทางกายได้แน่ แต่อย่างน้อยมันก็ช่วยทุเราความเจ็บป่วยทางใจของคนเราได้บ้าง อาจไม่ได้ถาวรแต่ก็ชั่วคราว ก็ยังดีที่เราไม่มีรักและปล่อยให้ตัวเราเน่าเปื่อยผุพังแบบไม่มีใครเลยจริงมั้ย แล้วถ้าผมยังจะบอกต่อไปว่า แท้จริง ความรักอาจไม่ได้มีอำนาจพอที่จะเปลี่ยนแปลงโลก แต่ความรักเป็นเพียงสิ่งเล็กๆที่รอให้คนเรานั้นมองเห็น เพราะมันอยู่ในโลกใบนี้อยู่แล้วละคงจะไม่ผิดใช่ไหมครับ

ถึงแม้ว่าหนังพยายามจะ built ความโรแมนติกออกมาพาฝันคนดู แต่เราก็หนีไม่พ้นสารเศร้าๆและชะตากรรมโหดร้ายของ วีล (พระเอก)ที่ต้องประสบพบเจอไปไม่ได้แน่ นั่นคือ กฎข้อบังคับที่คนดูต้องรับรู้ วันนึงเคยทำอะไรได้ด้วยตัวเองทุกอย่าง พอตื่นมาอีกวันพบว่าเราคือ Disable people เป็นแค่มนุษย์รถเข็น ลองคิดดูสิว่ามันเจ็บปวดขนาดไหน เราจะหัวใจสลายกับตรงที่ วีลเคยบอกกับ ลู (นางเอก) ว่า ผมอยากอยู่กับคุณนะ แต่คุณไปใช้ชีวิตซะเถอะ มันโครตจะทรมานเลยเมื่อเราทำอะไรให้คนที่เรารักไม่ได้ เราไม่สามารถกอด ไม่สามารถมีอะไรด้วยได้ ทั้งที่ใจเราอยาก ใจเราสั่งแต่ร่างกายเราไม่สั่ง ตรงนี้ทำเราเจ็บปวดในสารความรักของผู้ป่วยจัง

ตัวละครการแสดง 
เราชอบ นางเอกนะ เราว่าบุคลิกเธอมันพูดเก่งจัง เรารู้สึกดูแล้ว เหมือนเธอทำให้โลกใบนี้สดใสตลอดเวลา ติดอย่างเดียว ถ้าเกิดตัวละครตัวนี้ เปลี่ยนเป็นโหมดเสียใจฟูมฟายขึ้นมาเมื่อไหร่ ความรู้สึกเราว่ามันคล้ายการแสดงเกินไป ดูไม่ธรรมชาติ จุดนี้เราว่า เธอดูประดักประเดิดไป พูดง่ายๆอีกทีเธอเหมาะแก่การเล่นเป็นคนมีความสุขมากกว่า

การถ่ายทำมุมกล้อง 

เราไปอัศจรรย์ใจตรงฉากตอน ที่งานแต่งของแฟนเก่าพระเอก ฉากตอนที่ ลู กับ วีล เต้นรำแล้วกล้องโฟกัสหมุน 360 องศาให้ดูเหมือนวีลกำลังเต้นรำอยู่แบบคู่รักปกติ ฉากนั้นเราตะลึงมาก พร้อมบทสนทนาสวยๆที่หลุดจากปากของตัวละครทั้งสอง

Comedy ชนะเลิศ น่ารักและกรุ้มกริ่ม 

อาจจะมีไม่กี่ฉากนักที่หนังใส่ความตลกน่ารักมา แต่เรียกว่าออกมาแต่ละหมัดทำเราอมยิ้มผลิบานกันเลยทีเดียว ชอบตอนที่พระเอกแซวชุดที่นางเอกใส่ ชอบตอนให้ของขวัญระหว่าง อีตานักวิ่ง แฟนนางเอก กับ วีล ชอบมุขตอนที่พระเอกย้อนอีตานักวิ่ง 555 สะใจมาก ขำ
โดยรวมเลยละกัน จะมองเอาตามจริง Me before you ก็เป็นหนังน้ำเน่าได้นะ ตัวละครมาหลงรักกันในช่วงเวลาไม่กี่วัน พระเอกพิการนางเอกมารับใช้แล้วเกิด fall in love กัน แต่ถ้าจะน้ำเน่า และฉากสวยน่ารักแบบนี้ เรายอมวะเอาใจคนดูอย่างเราไปเลย ชอบมากครับ

ระดับความชอบ A



จักรวาลที่ไร้ความรู้สึก” Equals

 Equals



 จักรวาลที่ไร้ความรู้สึก” 

(Drake Doremus,2016 )


บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


เป็นหนังที่เท่เอามากๆ ทั้งด้านงานภาพ การดีไซต์ มุมกล้อง sound รวมไปถึง plot อะไรจะเข้าทางเราแบบนั้น จะว่าไป equals นี่คือหนังรักธรรมดาแต่ด้วยชั้นเชิงการนำเสนอการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครที่ดูแยบยลของผู้กำกับ ทำให้มันกลายเป็นหนัง รักคัลท์ๆ ที่เก๋และแปลกมาก คล้ายๆสารเคมีที่ค่อยซึมลึกและแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายคนดูหนังอย่างเราเลยก็ว่าได้ครับ

หนังมันพูดถึงโลกอนาคต ที่ทุกอย่างดู ไฮเทคไปหมด มนุษย์ทุกคนใส่ชุดขาวล้วน กินอาหารตามตารางและกลับบ้านเป็นเวลา ทำงานพวกวาดภาพประกอบ ชีวิตผู้คนไม่ต่างอะไร กับ หุ่นยนต์ เหมือนมีโปรแกรมคำสั่งติดตัวตลอด ไม่ค่อยมีการ reaction ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง ไร้ความรู่สึกและอารมณ์ พระเอกกับนางเอก คือ สิ่งแปลกปลอม บนดาวโลกดวงบ้าๆนี้ ที่พวกเขายังมีความรู้สึก และอารมณ์ ทำให้ถูกจับตามองจากผู้คนในเมือง collective ว่าคือ ผู้ป่วยที่ต้องรักษาและกำจัดออกไป ฟังดูโหดร้ายนะ ในเรื่องพวกเขาเป็นโรค S.O.S (โรคตื่นรู้) จะสังเกตได้ว่า ในหนังจะเห็นไม่กี่คนที่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คน หนึ่งในนั้นก็มี พระเอก กับ นางเอก นอกนั้นเป็นเหมือน cyborg ในร่างมนุษย์ทั้งหมด เดินเหิน แบบไม่สนใจใคร เมื่อสิ่งแปลกปลอมอย่าง พระเอกกับนางเอกที่ต่างคนต่างมีความรู้สึกมาเจอกัน จึงเกิด reaction ขึ้น ความรัก และพยายามที่จะออกจากโลกที่เต็มไปด้วยผู้คนไร้ความรู้สึกให้ได้

โหเอาจริงนะ เราโครตจะชอบและตื่นเต้นไปกับ การดีไซต์ฉากและมุมกล้องแบบนี้เลย ภาพในหนังคล้ายๆ สีแบบ Neon color มืดๆ สลัวๆเหมือนอยู่ในห้อง Lab มันดูประดิษฐ์มากสีในหนังฝันๆฟุ้งๆ บางฉากก็เหมือนเราเห็นแค่เงาของพระเอกและนางเอกแต่โดนอมสีเอาไว้ คือ ดีงามครับบอกเลย

วิเคราะห์ถึงแก่นอารมณ์มนุษย์ และประเด็นเสียดสี

Emotion คือ อารมณ์มนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ รัก โกรธ กลัว เสียใจ เหงา ในหนังบอกเราว่า ถ้าโลกในวันข้างหน้า มนุษย์จะเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่ตายด้าน ถูกทอดร่างและจิตใจให้ไร้ความรู้สึกและอารมณ์ และคล้ายกับหุ่นยนต์เข้าไปทุกวัน หนังยังแอบเสียดสีถึงสังคมที่คนเราล้วนโหยหา แต่เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่เข้ามาคุกคามระบบความคิดความเป็นมนุษย์ปกติ คนเราถูกป้อนข้อมูลในแต่ละวันด้วยคอมพิวเตอร์ สังคม social ข่าวสารต่างๆ ซึ่งผิดบ้างถูกบ้าง มนุษย์ถูกสิ่งเหล่านี้ล้างสมองจนแยกแยะเหตุและผลอารมณ์จริงๆไม่ถูก หนังแอบเสียดสีตรงที่ว่า ในโลกแห่งความสมัยใหม่เทคโนโลยีนี่คือ ภัยพิบัติคือหายนะมาทำลายความเป็นมนุษย์เรามากๆ คนเราถูกกระแสของเทคโนโลยีให้เดินตามเหมือนกันหมด ยิ่งล้ำก็ยิ่งหน้ากลัว สุดท้ายก็จะกลืนกินจนไม่หลงเหลือความเป็นมนุษย์จริงๆอีกต่อไป มนุษย์จริงๆที่ผมหมายถึง คือ มนุษย์ปกติที่มีอารมณ์และความรู้สึกตามสภาพแวดล้อมเหตุการณ์นั้นจริงๆ เราจะเสียใจเมื่อคนรักจากไป เราจะเกิดความกลัวเมื่อมีคนมาทำร้ายเรา หรือ เราจะเหงาเมื่อไม่มีใคร เพราะฉะนั้น ตัวละครพระเอกและนางเอกไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม แต่คือมนุษย์ปกติที่ต้องอยู่ในจักรวาลที่ประหลาด นั่นคือ จักรวาลทีไร้ความรู้สึก

รวมไปถึงประเด็นของระบบหมู่ในสังคมที่บังคับให้คนเราต้องทำตามเหมือนกันหมด กฎบ้าๆ บนโลกบ้าๆ ถ้ามีใครรู้สึกหรือเห็นต่างหน่อยก็จะถูกมองว่าเป็นแกะดำ และพิพากษ์ว่า เป็น ตัวประหลาด หนังยังเสียดสีจุดนี้ด้วยผมว่านะ 

โดยรวมเลยครับ Equals คือหนังรักที่แอบแฝงหลายๆประเด็นไว้ดีมาก มันมีความโรแมนติกแบบแปลกแยกจากโลกที่ล้วนบีบบังคับ ผมแนะนำให้ไปหาดูแรงๆเลยนะ


ระดับความชอบ A



วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ถ้าเราไม่เดินทาง เราก็จะไม่เติบโต " Extremely Loud and Incredibly

      Extremely Loud and Incredibly 


(U.S,2011,Stephen Daldry )


บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์

โหมันเจ็บปวดมากครับ คล้ายๆกับตอนเราดู The kid with bike หนังเบลเยี่ยมเรื่องนั้นเลยเรื่องของ เด็กชายคนหนึ่งตามหาพ่อด้วยจักรยาน ด้วยความหวังที่ริบหรี่ มาถึงหนังที่ผมเพิ่งได้ดูไปเมื่อคืนคือ extremely loud and incredibly close นั้นโทนใกล้กันมาก แต่มันดูสดใสกว่าหน่อยนะ เพราเด็กน้อยในเรื่องยังมีแม่จริงๆ 

เราว่าหนังนั้นทะเยอทะยานดีในการเล่าประเด็น เรื่องของการเติบโตของเด็กคนหนึ่งที่ผ่านห้วงวัย ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ รวมไปถึงผู้คนมากมายที่เด็กคนนี้ไปประสบพบเจอ แม้ทางที่มันเดินนั้นจะสาหัสขนาดไหน เด็กคนหนึ่งที่วันหนึ่งพ่อมันตายไปจาก เหตุการณ์ 11 กันยายน ตึก world trade โดนถล่มจากเครื่องบิน และพยายามที่จะรู้ให้ได้ว่าทำไมมันถึงเกิด ใครทำ เพราะอะไร ถึงแม้ว่าโลกของผู้ใหญ่ อย่างแม่เขาจะรู้ดี และปล่อยให้มันสิ้นสุดไปแบบนั้น แต่ด้วยโลกของเด็กทำให้เขาเชื่ออีกอย่างหนึ่ง เราต้องค้นหาคำตอบให้อย่างดีที่สุด เราเลยกลับมาคิดว่า ตัวละครเด็กในหนัง สารที่หนังต้องการสื่อสารกับคนดู มันดูผู้ใหญ่มากนะ

Rationalism (ทฤษฎีเหตุผลนิยม)

มนุษย์เราเชื่อว่าสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดคือ ความรู้ การหาเหตุผลไปสู่ผลลัพธ์เท่านั้น ที่จะทำให้ได้ความจริงที่กระจ่างนั่นแหละคือความรู้
ในหนังก่อนพ่อจะจากเด็กคนนี้ไป พ่อเขาจะสอนให้ลูกเรียนรู้การหาคำตอบสิ่งที่เป็นปริศนา ทุกสิ่งที่อยู่บนโลกนี้ล้วนมีเหตุและมีผล สอนให้ค้นหาเมือง สอนให้รู้จักการเดินทาง ผมชอบประโยคหนึ่งที่พ่อเขาทิ้งท้ายว่า
“ อย่าหยุดค้นหา “ แม้ว่าผลลัพธ์จะเป็นแบบไหนก็ต้องหาคำตอบจากคำถาม เหมือนกับอีกประโยคที่บอกว่า “เรารู้ความจริงที่แสนเจ็บปวดยังดีกว่ารู้ความจริงที่ว่างเปล่า” หนังมันสอนตรงนี้เราดีมาก “ถ้าไม่เดินทางเราก็จะไม่มีวันเติบโต “ เราจะไม่รู้เลยว่าผู้คนต่างๆบนโลกนี้ บางครั้งเขารู้สึกแบบไหน เขาอาจจะเดินทางหาคำตอบเหมือนกับเราอยู่ก็ได้ ระยะทางก็อาจแตกต่างกันไป แต่ทุกคนนั้นเดินหาคำตอบอยู่ ผมเชื่อแบบนั้นครับ ซึ่งเราชอบสารในหนังเรื่องนี้มาก
สิ่งที่เราสะเทือนใจในหนังทุกเรื่องที่เราดูคือ การแทนเอาตัวเราไปอยู่ในเหตุการณ์ ถ้าแบบนี้มั่ง กูจะเป็นแบบไหน ซึ่งโมงยามการสูญเสียใครคนหนึ่งที่เรารัก รู้เลยว่ามันจะแตกสลายขนาดไหน ซึ่งหนังเรื่องนี้ทำให้ผมรู้สึกแบบนั้นครับ สรุปดูหนังเรื่องนี้เราได้เติบโตไปกับตัวละครเด็กชายไปด้วย
“ เพราะคำถามทำให้เราต้องค้นหา ถึงแม้ที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไรสิ่งที่ทำได้คือการเดินต่อไป



ระดับความชอบ B



วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

" ครอบครัวบาปหนา "The Witch


The Witch 

                                                              
                                                                  

(U.K,2016, Robert Eggers)



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


   " ครอบครัวบาปหนา "

หนังน่ากลัวสัส ฉาก climax นี่พีค ภาพติดตาเลย คงจะเป็นฉากที่ผมคิดว่า จะจดจำในประสบการณ์การดูหนังไปอีกนาน
Ambient มาเป็นระยะแต่คุกคามเราดีจัง เสียงโหยหวนนี่สุดตีน
เราว่าบรรยากาศต้องให้มันนะสำหรับ the witch เนี่ย องค์ประกอบศิลป์ต่างๆ ยอดเยี่ยมเลย ความรกร้างของสถานที่ช่วยได้มากก


เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวบาบหนาผมเชื่อแบบนั้นนะ เพราะถูกสำนักคริสตจักรขับไล่ออกจากเมือง จึงต้องมาตั้งรกรากใน ดินแดนอันไกลโพ้น กลางป่าเขา ครอบครัวเลี้ยงแพะ เด็กคนเล็กไอ้แฝดนรกที่สามารถร้องเพลงติดต่อกับแพะได้ แม่งหลอนตั้งแต่เด็กแฝดนี่และ แพะ = สัตว์มีเขาที่ถูกมองว่ามันคือซาตานที่อยู่ตรงข้ามกับพระเจ้า มันจึงมีเรื่องแปลกๆเกิดขึ้นกับครอบครัวนี้

เราว่าข้อดีของหนัง honor ตำนานแม่มดพื้นบ้านเรื่องนี้อยู่ตรง การเคารพความเงียบของบรรยกาศ บรรยกาศความน่ากลัวที่ซุกซ่อนไม่ให้เรามองเห็น ปกติถ้าดูหนังผี หรือ แนวนี้ต้องเต็มไปด้วย ปีศาจร้าย ตัวผี ออกมาเยอะๆ โพล่งพล่าง แต่ the witch เราว่าหนังมันใช้ความไม่ชอบมาพากลในสถานที่ สัตว์ต่างๆ การกดดันคนดูด้วยการที่ตัวละครถูกสาปส่งด้วยความชั่วร้ายของธรรมชาติ ครอบครัวไล่ฆ่า เล่นงานกันเองต่างก็ไม่มีใครไว้ใจใคร คิดว่ามี
แม่มดมาสิง มันเจ๋งตรงนี้

ทุกคนในครอบครัวมีบาปติดตัวด้วยกันหมด

1. ลูกสาวคนโต สารภาพบาปตอนแรกว่า เธอไม่ดีแบบนั้นแบบนี้ ในหนังเราจะเห็น
2. น้องชาย จอมหื่น มันมีกิเลศตัณหาในกามอารม แอบดูนมพี่สาวตัวเอง เปรตจริงๆ สุดท้ายกามกิเลศบังตา แม่มดมาเอาตัวไป
3. พ่อ มีบาปในเรื่องของความเย่อหยิ่ง เห็นผิดเป็นชอบ
4. แม่มีบาปคือ การไม่ยอมตัดขาดจากความทุกข์ หวงสิ่งของทั้งที่มันไม่ได้มีผลอะไรกับชีวิตมาก ทำให้คนในครอบครัวเป็นทุกข์ไปด้วย ในเรื่องคือ การหายตัวไปของลููกชายคนเล็กอันนี้พอเห็นใจ และ ถ้วยเงิน อันหลังจะบ้ารึ ! เอามาเป็นปัญหาโลกแตก
5 เด็กแฝด มีบาปในเรื่องของการติดต่อกับแพะ หมกมุ่นอยู่กับความช่วยร้าย ร้องเพลงไร้สาระไปวันๆ
ตัวละครทั้งหมดวนเวียนอยู่กับ sin (บาป) สุดท้ายก็เจอเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น

ความหลอน มันเล่นแต่ละทีทำเราสะดุ้งโหยง เราว่าหนังมันไม่ใช้ ความน่ากลัวเปลือง ออกมาแต่ละครั้งก็เอาให้เราตายไปข้าง ฉากแม่กับลูกสาวนี่สะเทือนใจสัส หนังมันเอาขนาดนี้เลยเหรออ รวมถึงฉากสุดท้ายย อื้อหือ ..............

ไม่อยากพูดไรมากครับ อยากให้ไปดูมากก เจ๋งงงง

ระดับความชอบ A

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

" หน้าต่างบานแรก " An education

An education



(U.K,2009,,   Lone Scherfig)


" หน้าต่างบานแรก "



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


หนังเคยเข้าชิงออสการ์ในสาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยมเมื่อปี 2009
ว่าด้วยเรื่องของ อีเด็กสาวไฮสคูลผู้ร่าเริงวันนึงโลกของเธอเปลี่ยนไปเมื่อพบกับ ชายหนุ่มวัยกลางคน เธอหลงไหลไปกับเขา .......

ถือเป็นหนังรัก coming of age ที่ทำออกมาได้งดงามมหาศาล เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ ตัวละครเด็กสาวที่เริ่มจะถลำลึกเข้าไปในโลกของผู้ใหญ่ พูดง่ายๆหนังเรื่องนี้คือ หนังที่ว่าด้วยความรักในวัยเรียน เรียนไปปวดหัว มีผัวดีกว่า อารมณประมาณนั้น สิ่งที่หนังนั้นทำและถ่ายทอดออกมาได้อย่างเข้าถึงอารมณ์ตัวละคร เราเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้าน ความคิด ของเธอ การหมกมุ่นอยู่กับโลกอันแสนโสภา วัตถุสิ่งหรูหรา การฟังดนตรีฝรั่งเศส การอ่านวรรณกรรมคลาสสิค หรือ การมีรสนิยมที่ฟู่ฟ่าใช้ของนอก การรังเกียจชีวิตธรรมดาที่บ้านเกิด เธอบอกเรียนจบมามีงานทำแล้วไงต่อ ? สู้จับผช รวยๆแต่งงาน ไปเป็นเจ้าหญิงในปารีสไม่ดีกว่าเหรอ เมืองนี้ไม่น่าอยู่ ไม่มีศิลปะชั้นสูง มีแต่เรียน เรียน และก็เรียน
สิ่งโสภาหลอกลวงพวกนี้กำลังพาเด็กสาวธรรมดาให้เดินหลงทางอยู่ ฉากที่ผมชอบมาก ตอน เจนี่ นั้นเข้าไปฟังเพลง You've Got Me Wrapped Around Your Little Finger ในงานคอนเสริตเพลงคลาสสิค นี่แสดงถึง การที่เธอกำลังตกอยู่ในภวังค์และกำลังล่องลอยปลิดปลิวไปกับเขา


นอกจากหนังนั้นยังสอนชีวิตเด็กวัยรุ่นที่หลงทางแล้วนั้น ยังสะท้อนคุณค่าการวางตัวเป็นกุลสตรี ในหนังบอกว่า ถ้าเกิดสวยแต่โง่ไม่มีใบปริญาตรี ไม่มีความรู้ ผู้ชายคนไหนจะเห็นค่าจริงๆ อย่างกับประโยคสุดคลาสิคที่คนชอบพูดกันว่า "เจ้าชายมีแค่ในนิยาย" นี่มันโลกความจริงตื่นเถอะ เจนนี่
เรื่ององค์ประกอบงานศิลป์นี่ไม่ต้องพูดถึง ฉากริมน้ำที่ปารีสนั้นสวยงามมุ๊งมิ๊งสุดๆไปเลย หนังนั้นค่อนข้างใส่ใจทำออกมาได้อย่างดูปราณีต คล้ายๆการอ่านวรรณกรรมเรื่องรักใคร่อันผิดทางของเด็กหญิง ก่อนจะรู้ว่าอีกที่ว่า หน้าต่างบานแรกที่เธอได้ลองเปิดไปมันไม่ใช่สิ่งสวยงามอย่างที่เธอเคยคิด แต่หน้าต่างบานนั้นก็เป็นเหมือนบทเรียนราคาแพงที่สอนชีวิตให้กับเธอ ก่อนที่เด็กสาวจะก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ไปเจอโลกอะไรอีกมากมาย


ปล แครี่ มุลิแกน เจ๊แกถ่ายทอดอารมณ์สีหน้าแวตาได้เทพมากก อินมากกก
โดยรวมเป็นหนัง coming of age ที่ผมคาราวะมากกก


ระดับความชอบ A

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ความหวังของดอกไม้ป่า The song of sparrow

                      The song of sparrow     


               
(Iran,2008, Majidi Majidi )

"ความหวังของดอกไม้ป่า"   


บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์

ถ้าจะพูดถึงวงการหนังอย่าง ประเทศอิหร่าน อุตสหกรรมด้านภาพยนตร์ของเขาก็มีหนังเล็กๆ หนังรางวัลดีๆอยู่หลายเรื่องเหมือนกัน  เราดูได้มีโอกาสดูจริงแค่ 3 เรื่องเท่านั้น   Children of heaven, A separation, แล้วก็  The song of sparrow  แล้วก็พบว่าทั้งสามเรื่องนั้นมี สองเรื่องที่โทนคล้ายๆกัน พูดถึงสังคมชนชั้นกลาง เกือบล่างที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเรื่องความยากจน  นั่นคือ  Children of heaven กับ  The song of sparrow ส่วน a separation  เป็นการวิภากษ์สิ่งที่เรียกว่าความถูกผิดของมนุษย์   


(Struggle for Existence)  

หมายถึงการดิ้นรนต่อสู้กับความยากลำบากเพือการอยู่รอด   ในหนังตระกูลนี้ที่เราชอบก็พวก  Beijing in bicycle ของจีน  จะว่าไปมาเทียบกับ The song of sparrow นั้นละม้ายคล้ายกันตรงที่ ตัวละครใช้พาหนะคู่กายในการทำมาหากิน เป็นสิ่งที่ใช้ต่อสู้เพื่อการมีอยู่ในแต่ละวัน  เพียงแต่ The song of sparrow ให้ความหวังกว่ามาก   ในขณะที่ beijing in bicycle ตัวละครหลักนั้นไม่มีครอบครัวมาเอิ้อหนุนเลย  



เรื่องมันพูดถึง ครอบครัวนึงในชนบทเล็กๆของอิหร่าน ทีหัวหน้าครอบครัวเลี้ยงนกกระจอกเทศ เลี้ยงชีพ เข้าใจว่าเป็นปศุสัตว์ เก็บไข่ก็กินมั่ง ขายมั่งประมาณนี้  ครอบครัวประกอบด้วย ภรรยา และ ลูก 3 คน  คนเล็กสุดผู้หญิง  คนกลาง เด็กชายทีมีความฝันอยากเลี้ยงปลาในบ่อ  และ พี่คนโตสุดที่มีปัญหาด้านการฟังเสียง  ที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อ ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง  เป็นปัจจัยทั้งหมดของหนังเรื่องนี้เลย  
หนังสะท้อนถึง ความเป็นชนบทได้ค่อนข้างดี  การกินอยู่ในแต่ละวันอันแสนเรียบง่ายของคนที่นี่  เลี้ยงสัตว์ เก็บผัก ขายดอกไม้  ทำให้เราเห็นความสุขของคนเรามันงดงามแบบนี้นี่เอง  ไม่ต้องไปแข่งขันมาก 
แค่ดิ้นรนไม่ให้ลำบากมากก็พอ  เราเลยมองเห็นถึงการสร้างความสุขของคนเรานั้นว่ามันสามารถสร้างได้ทุกที่ ไม่ต้องไปไกล จะที่ไหนเราก็มีได้ แค่เราคิดว่ามีมันก็สุขแล้วครับ  



การมองเห็นความดิ้นรนของผู้ยากไร้ ไม่ว่าจะสังคมเมือง หรือชนบทเรายังเห็นการตะเกียกตะกายของมนุษย์เราทุกที่  การแย่งงานต่างๆ เพื่อเลี้ยงชีพ   

การมองเห็นความหวังไกลๆ ของผู้คน  จากบ่อโคลน น้าคำสกปรก เป็นบ่อปลาที่สะอาด  เราเลยคิดว่าเออทุกอย่างมันเปลี่ยนได้เว้ย ถ้าคนเราเชื่อและจะทำมันจริงๆ 


รวมถึงยังมีเรื่องของศาสนา ความเชื่อต่อพระเจ้าอัลเลาะห์ การทำดี ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง อีกด้วย เมื่อทำดีจงยึดมั่นเดี๋ยวสิ่งดีๆก็จะตามมา  ถึงจะจนตรอกไงก็ไม่เอาเปรียบ  


รวมๆหนังปลอบประโลม และให้กำลังใจคนสิ้นหวังมากๆ  ว่าดอกไม้ที่มาจากป่าใช่ว่ามันจะสกปรกไปตลอด มันอาจจะเกิดในสิ่งแวดล้อมที่ดูเปรอะเปื้อนบ้าง ไม่สวยงามเหมือนดอกไม้ในเมือง  มาจากทุนที่น้อยกว่า ต่ำกว่า แต่เมื่อวันนึงดอกไม้ป่าโตขึ้นเรียนรู้ที่จะอยู่ยังไงให้รอด มันก็สามารถผลิใบที่สวยงามได้อยู่เหมือนกัน แค่อย่าทำให้ตัวเองเฉาตาย จงอยู่อย่างมีหวังนะเจ้าดอกไม้ 

คะแนน B


วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

" เมื่อประวัติศาตร์ของอดีตถูกปัจุบันกดทับ สิ่งที่เหลืออยู่คือความลางเลือน" Snap

Snap



(Thailand,2015, คงเดช จาตุรันรัศมี )


" เมื่อประวัติศาตร์ของอดีตถูกปัจุบันกดทับ สิ่งที่เหลืออยู่คือความลางเลือน" 


บทวิจารณ์และวิเคราะห์ 


หนัง nostalgia สุดขีด ทำให้เราคิดถึงโมงยามตอนเราเรียนพวก ม ปลาย จัง สิ่งต่างๆในหนังมันพาเรากลับไปบรรยากาศแบบนั้นจริงๆ โต๊ะเรียนเขียนด้วย liquid โรงยิมที่มีเสียงเด็กเล่นกีฬา ร้านจักยานเก่าๆ ร้านถ่ายรูปของคุณเพื่อนพระเอก โหแล้วก็พบว่ามันงดงามมาก ยิ่งเพลงในหนังเป็นเพลงที่ fat radio กำลังบูมๆในช่วงปี 2002-2004 แต่งงาน moor , bakery อยากหลับตา , ยอม p.o.p โห โครตได้ฟิวเลยครับ มาเต็มจริง เหมือนได้นั่งฟังเพลงจากวิทยุเก่าๆแล้วอัดเพลงพวกนั้นใส่เทป cassette จริงๆ ตอนนั้นเป็นอะไรที่มีความสุขมาก รู้สึกว่าการฟังเพลงที่เราชอบแต่ละเพลงโครตมีค่า ต้องรอให้ดีจคนโปรดเราเปิด  เราว่ามันมีเสน่ห์ไม่เหมือนสมัยนี้ที่เพลงนั้นถูก search ผ่าน google, youtube  หาฟังง่ายมาก  เราว่าความเก่ามันดีตรงนี้  

อดีตไม่ใช่ประวัติศาสตร์ของความทรงจำที่สวยงามเสมอไป เมื่อเรานึกถึง อดีตถูกคนเราหลงลืมไปและบางครั้งก็ยังถูกปัจุบันและกาลเวลกดทับ เท่ากับว่าเรื่องราวในอดีตนั้นกำลังจมหายไปเรื่อยๆ จนไม่มีให้จดจำในที่สุด ความเว้าแหว่งของโมงยามต่างๆในอดีตมีมาก จนบางครั้งไม่สามารถประติดปะต่อภาพในวันวานได้ มันดูพร่าเลือนไปหมด

แม้กระทั่งรุปถ่ายของผึ้งและบอยใน aquarium ที่พยายามปะติดปะต่อและเชื่อมโลกของการมีอยู่ในการชดเชยโมงยามที่เคยขาดหายไป ของพวกเขาก็ยังจะโดน delete ไปจากมือถือผึ้งอีกครั้ง


จะว่าไป Snap เป็นการมอง โมงยามของผึ้งและบอยที่ถูก delete ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเป็นเหตุการณ์เมื่อ 8 ปี ตอนเขาเรียน ผึ้งต้องย้ายไปกรุงเทพเพราะคำสั่งทางราชการของพ่อเธอ ทำให้เธอต้องย้ายโรงเรียน ไม่มีรูปในหนังสือรุ่นในกลุ่มเพื่อน เป็นการ delete แบบภาพยังไม่หายทีเดียว เหตุการณ์สองคือ ตอนที่บอยได้ reunion กลุ่มเพื่อนและผึ่งอีกครั้ง เพราะต้องมาถ่ายรูป pre wedding ให้เพื่อนในกลุ่มที่จันทบุรี ปัจจุบันผึ้งจะแต่งงาน และรูปที่ถูกถ่ายในมือถือผึ้ง ในฉากที่ทั้งสองไปที่ตู้ปลา นั้นเป็นแค่เศษเสี้ยวโมงยามเล็กๆในหนังของผึ้งและบอย กำลังจะถูกแทนที่ด้วย ภาพวิวาห์ในปุจุบัน
เหมือนกับว่าเหตุการณ์ที่พยายามจะปะติดปะต่อกันอีกครั้งระหว่างผึ้งและบอยนั้นไม่สำเร็จ มันได้ขาดหายไปตั้งแต่เมื่อ 8 ปีที่แล้วเกือบจะสมบูรณ์  เหลือแค่เศษโมงยามบางๆที่ถูกความทรงจำ snap ไว้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปอดีตยังถูกปัจุบันกดทับอยู่ดี จนภาพที่เคย snap เอาไว้กำลังจะสูญสลายหายไปในที่สุด 

แค่ได้คิดถึงก็เป็นสุขใจแต่เอากลับมาไม่ได้แน่และผมเชื่อว่า มันจะค่อยลางเลือนไปเรื่อยๆ ตรงนี้มันโดนเรามาก เจ็บลึกๆ   

ปล พี่โทนี่ เล่นได้ดีมาก แกน่าจะรับบทหนังนิ่งๆเหงาๆแบบนี้เรื่อยๆนะ เราว่าสไตล์พี่แกดี อย่าไปเล่นเลย comedy อะ
น้อง อิงค์ ( เหงา เหงา) ก็โอเลยครับ น่ารักผ่าน55

คะแนน A


วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

จงรักเขา ให้เหมือนที่เรารักตัวเอง The Blind side

 The Blind side


(U.S.2009,John lee hancock )



"จงรักเขา ให้เหมือนที่เรารักตัวเอง"   



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


หนังสร้างจากเรื่องจริงของ  ไมเคิล ออร์ นักอเมริกันฟุตบอลผิวสี ตัวใหญ่   เขาเป็นเด็กหนุ่มตัวใหญ่ ผิวดำ ถ้ามองดูผิวเผิน น่ากลัว ไม่น่าคบหา  มาจกครอบครัวแม่ติดยา  อยู่บ้านข้างถนน hang out อยู่กับเพื่อนๆ กุ๊ย พวก rap ผิวสี พวก street life  เมื่อแม่หายไป เขาก็เดินออกมาในสภาพที่ไม่เหลือใคร วันหนึ่งไปเจอ  ครอบครัวชาวคริสต์ผิวขาร่ำรวย อุปการะไปเลี้ยงดู

หนังพีคมาก พีคถึงขั้นทำเราเอาหัวใจพองโต และซาบซึ้งไปกับ ครอบครัวใหม่ของเขาตลอดทั้งเรื่อง เป็น 120 นาทีที่มีความสุขมาก   และทำให้เห็นถึงค่าการให้โอกาสเพื่อนมนุษย์ด้วยกันว่ามันยิ่งใหญ่มากเพียงใด  ยังสะท้อนไปถึงหลักของศาสนาคริสต์ที่ว่า  จงรักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน


ความแตกต่างระหว่างบุคคล

คนชายขอบ  (Fringe people ) =  คือกลุ่มของบุคคลที่ถูกกีดกั้นทางสังคม  เป็นคนนอก  พวกผิวสี  คนพิการ  คนเร่ร่อน  คนต่างด้าว พวกลักเพศ ก็ยังใช่  

คนใน =    คนรวย คนรูปร่างดี   การศึกษาสูง  พวกคนขาว ในสังคม คนผิวขาวถูกเชื่อ มาจากตระกูลดี  เป็นคนมีการศึกษา  

เมื่อสังคมถูกแบ่งจากคนสองกลุ่ม  คนนอกที่เดินอยู่ในเส้นนอกเล็กๆของตัวเอง  ไม่มีโอกาสเข้ามาในวงกลมของคนในได้  ถ้าเข้ามาก็เป็นพวกตัวประหลาด ถูกติฉินนินทาต่างๆ   เหมือนหนังเรื่อง 12 years salve ทีทำการ วิภากษ์คนนอก คนผิวสี ว่าเหมือนพวกทาส  มาจากชนชั้นต่ำต้อย  The blind side  คือ การดึงเอาคนนอกเข้ามาในวงของคนใน   


การศึกษาโรงเรียน โอกาส

โรงเรียนเป็นเหมือนสถาบันบ่มเพาะเด็ก เด็กทุกคนไม่ว่าจะมาจากไหน พวกเขาควรมีพื้นทีและให้โอกาส   เท่าๆกัน คนไอคิวสูง หัวดี  คนหัวขี้เรื่อย  ทุกคนสามารถที่จะพัฒนาได้  ความเก่งก็อาจคนละด้าน  เก่งตัวเลข  อีกคนเก่งภาษา อีกคนดนตรี  หรือบางคนกีฬา  แม้กระทั่ง เด็กพิเศษ กับ เด็กธรรมดาต้องอยู่ร่วมกันให้ได้  อย่าไปคัดแยกว่า ไอ้นี่พิเศษ มึงต้องไปกับพวกพิเศษ มันจะทำให้เด้กเกิดปมด้อยติดตัวไป  




Racism  (การเหยียดสีผิว)

ประเด็นการเหยียดผิวที่อเมริกา  สะท้อนความโหดร้ายความชิงชังเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  พวกผิวขาวทำตัวเป็นราชา เป็นเหมือนพวกราชสีห์ที่คอยข่มเหงกรีดเลือดเนื้อของ คนดำ คนดำเหมือนกลุ่มสัตว์เล็กที่ถูกล่า ซึ่งในปัจุบันถือว่ามีให้เห็นน้อยลงแต่ยังมีอยู่บ้าง ในหนังตอนแรกจะเห็นได้ว่า ตอนที่  บิ๊กไมค์ เข้าไปโรงเรียนที่มีแต่คนขาว ซึ่งแน่แน่นอน เขาถูกมองว่า แกะดำ หนำซ้ำยังโดนพวกอาจารย์พูดว่า ไอ้เด็กอ้วนดำคนนี้ไม่มีทางเก่งได้หรอก    บิ๊กไมค์ เป้นตัวละคร ที่ทำหน้าที่เป็น คนนอกอย่างสมบูรณ์แบบ (คนอ้วน, ผิวดำ, ไม่มีประวัติ, ยากจน
ครบคุณสมบัติ 

 แต่หนังนั้นให้กำลังใจคนนอก และบอกเราว่า คนนอกสามารถอยู่และมีชีวิตร่วมกับคนในได้อย่างปกติ  ศาสนาคริส ยังถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่ทำลายกำแพงความต่าง ของมนุษย์เราได้  แต่ก็อยู่ที่คนจะศรัทธาอีก  เราจงมองเขาให้เหมือน เรากำลังมองตัวเราเอง     จงรักเพื่อน ให้เหมือนรักเรา  แค่นั้นชีวิตเราก็จะมีความสุข

ถือเป็นภาพยนตร์ที่ให้กำลังใจเพื่อนมนุษย์ผู้ตกยากได้เป็นอย่างดี  มันกินใจเหลือเกินสำหรับเรา 


คะแนน  A

เสียงเรียกในวันวาน The Case of Hana and alice

The Case of Hana and alice




(Japan,2015,Shunji iwaii)


" เสียงเรียกในวันวาน "


บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


อบอุ่นและจับจิตอย่างมาก เรารู้สึกเหมือน ได้นั่ง time machine กลับไปตอนที่เราดู versionภาพยนตร์ เรื่องนี้แรกๆ มันสวยงาม และ ละมุนละไมไปหมด เสียงเปียโน ฉากที่ อลิซ เต้นบัลเลย์ฉากแรกก็ทำเราละลายแล้วหละ

อันนี้เป็น แบบฉบับ animation เอาจริงเนื้อเรื่องมันเป็น เรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ภาค version นักแสดงจริงซะอีก 
พูดง่ายๆ มันคือ side story เล่าถึงความสัมพันธ์ของ คุณ อลิซ กับ ฮานะ ก่อนที่จะมาเป็นเพื่อนซี้ชมรมเต้นบัลเลย์ด้วยกัน
หนังดูเพลินดีจัง ลายเส้นการ์ตูนเราก็ชอบมาก มันยังมีความตลกน่ารักในแบบ comics high school ใสๆ อีก

การเปรียบเทียบพัฒนาการของตัวละคร ทั้ง hana กับ alice ในแบบภาคนักแสดง และ ฉบับ การ์ตูน
Alice

น้องอลิซแบบการ์ตูนนี่ เราไม่อยากเชื่อเลยว่า เป็นภาคนักแสดงแล้ว จะดูเรียบร้อยผิดหูผิดตา เพราะไอ้ version นี้ เธอโครตจะแสบ และร้ายหาตัวจับยาก มาก เตะต่อยและไม่ยอมคน
ถ้าเกิดว่าตามจริง อลิซในแบบนักแสดง 2004 อาจดูเหมือนจะเป็นตัวละครที่สามารถปรับสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ในโรงเรียนกลมกลืนกับเพื่อนได้ แล้ว ใจเย็นและอ่อนโยนขึ้น

Hana
ตัวละคร ฮานะ ดูลึกลับดีในตอนแรกๆ แล้วเราก็ค่อยๆหลังรักเธอ ใน version นักแสดง เรามองว่า เธอบุคลิกออกแนวเป็น พวก stalker แต่แรกๆแล้ว จะแอบชอบผู้ชาย พูดง่ายๆ เราว่ามันใจแตกกว่า อลิซนะ แต่เอาจริงคุณ ฮานะ นี่เรามองว่าข้างในจะดูเหมือนอ่อนไหว กว่า อลิซ ซึ่งเรามองว่าอลิซเธอดูแข็งแกร่งกว่า
รวมๆพูดเลยถ้าใครดูแบบ version หนังมา ดูการ์ตูนจะอินเป็นพิเศษเหมือนกับเรา แต่ถ้าใครไม่เคยดู version หนังมาก่อน มาดูอันนี้ก่อนก็เข้าทางไปอีกแบบเพราะเนื้อเรื่องมันเริ่มมาจากภาคการ์ตูนนี้แหละ

คะแนน A

ถ้าเราผ่านความกลัวไม่ได้ เราจะไม่เห็นความสวยงาม The Good dinosour

      The Good dinosour    



(U.S , Peter sohn ,2015 )


"ถ้าเราผ่านความกลัวไม่ได้  เราจะไม่เห็นความสวยงาม"  


บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์


เฮ้ย สนุกดีเหมือนกัน แถมกินใจเราพอสมควร มีน้ำตาร่วงด้วย แต่ไม่ถึงกับ แบบ inside out นะยังไมถึงเบอร์นั้น

พูดถึง theme หลักของหนัง คือ การก้าวข้ามผ้่านสู่วัย และ การสนับสนุนของ ความกล้าและความกลัว
ความกลัว (Fear ) ธรรมชาติของมนุษย์แล้วนั้น ความกลัวถือว่าเป็นอารมณ์นึงที่มีปฎิกริยาตอบสนองเราให้คิด รับรู้ว่า ต้องระวัง
ฉันจะทำแบบนั้้นไม่ได้ แต่ถ้ามนุษยชาติเราไม่มีความกลัวละจะเกิดอะไรขึ้น คงมีแค่ผู้กล้าเต็มไปหมด ไม่ก็วนเวียนแต่กับความตาย แน่นอนมนุษย์เราต้องตาย แต่ถ้าไม่มีความกลัวมนุษย์ก็อาจไปสู่ความตายก่อนวัยที่ควรจะเป็น

ความกล้า (Brave) คือ อารมณ์ที่ห้าวหาญของมนุษย์ที่เดินผ่านความกลัวไปแล้ว
ก้าวผ่านสิ่งนั้นไปได้ ฉันไม่กลัว มาสิ รอรับมือ แต่ว่าอารมณ์สองสิ่งของมนุษย์จะต้องมีสองอย่าง และไม่สามารถมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเดินแยกออกจากกันได้ กลัวได้แต่อย่าขี้ขลาด กล้าได้แต่ต้องมีสติ


ด้านงานภาพ พูดครงๆ ว่าสวยทุกฉาก
การดำเนินเรื่องเอาตามจริงมันเข้าไปในข่ายหนังเด็กเลย ไม่ได้ซับซ้อนและเหนือชั้นเหมือน inside out แต่ความเก่งหนัง pixar ช่วงๆหลัง สามารถทำลาย ความเปราะบางของอารมณ์คนดูได้ง่ายมาก พูดง่ายๆ คนดูจะรับรู้และรู้สึอินไปกับมัน บางครั้งตัวละครไม่ต้องพูดแต่ทำผ่านการกระทำสีหน้า ก็เพียงพอแล้ว
สิ่งที่ชอบหนังเล่าผ้านตัวหลักทั้งสอง ที่มุ่งให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธฺครอบครัว จุดนี้โดนใจเราเต็มๆ

คะแนน B+
                            

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กุ้งยักษ์ผู้รักนิรันดร์ Lobster

 Lobster  



(Greece,2015,Yogros Lanthimos )



กุ้งยักษ์ผู้รักนิรันดร์  



บทวิจารณ์ และ วิเคราะห์

ลกของผู้กำกับคนนี้คงเป็นโลกที่แปลกประหลาดและโหดร้าย และคงไม่มีใครอยากที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโลกของเขา
Yorgos Lanthimos ผู้กำกับหนังชาวกรีก ที่ผุดหนังสุดเพี้ยน อย่าง dog tooth เมื่อหลายปีก่อน จนสร้างชื่อในเวทีคานส์มาแล้ว มาคราวนี้แกยังคงจิกกัดเย้ยหยัน ได้เจ็บแสบเหมือนเดิม ว่าแต่ความดิบคงไม่เท่าเรื่องก่อน ยังมีความโรแมนติกผสมไว้ด้วย เอาจริงเราชอบเรื่องนี้มากกว่า รู้สึกว่า บรรยากาศสภาวะ แวดล้อมตัวละคร ไม่ได้ถูกจำกัด space ไว้จนมากเกินไปเหมือน dog tooth เรื่องก่อนอึดอัดมากไม่ชอบเลย

สิ่งที่ต้องชมคือการแหวก concept หนัง แบบการตั้ง rule ขึ้นมาเท่ๆ โรงแรมนี้หาคู่ให้คุณนะ เรามีเวลาให้ท่านประมาณนึง ถ้าหาไม่ได้ ท่านก็ต้องถูกแปรสภาพเป็นสัตว์ ตามที่คุณเลือก เออเว้ย เราว่าหนังมันเจ๋งตรงนี้ ไม่ค่อยมีใครคิด และ rule ในหนังที่บอกกับตัวละครต้องทำ ตามแบบนี้ แบบโน้นนะ มันไม่ได้แบบว่า ตายตัวเหมือนพวก battle royal หรือเรื่องอื่นๆ ที่คนดูคงจะเดาได้ว่า เป็นการ set โลกของการสู้กันเพื่อนอยู่รอด คนชนะคือคนอยู่รอด
แต่ตรงนี้ไม่ใช่ หนังมันสามารถพาเราไปไกลกว่านั้น

ความโสดถูกหยิบยกเอามาเล่น ไม่ได้เอามาเล่นในบรรยากาศแบบหนังหว่องนะ แต่ lobster เป็นการชิงชังความเหงา สิ่งที่เป็นคี่ ต้องการจิกกัด คนเหงามากกว่า พูดง่ายๆว่า ต้องการว่า คนไม่มีคู่ เป็นเพียงสิ่งไร้ค่า ไม่มีค่าพอที่จะเป็นมนุษย์ได้ ต้องเป็นแค่สัตว์ ตรงนี้ฉุกคิดดูแล้วมันสะเทือนใจอยู่พอสมควร พระเอกอยากเป็น lobster นั่น เดาว่า การเปรียบ สัตว์ lobster คือกุ้งยักษ์ มีเซล์เดียว ฆ่าไปอาจไ่ม่เจ็บ ถ้าเจ็บก็น้อยมาก ไม่เหมือนพวกสัตว์ใหญ่ พูดง่ายๆอยากแปรสภาพเป็นพวกสัตว์ไม่มีหัวใจ ไม่อยากรับรู้ความเหงาต่อไป ตรงนี้เราเดานะ แต่ความไม่แฟร์ที่คนโสดเกลียดหนังเรื่องนี้ตรงที่ว่า ทำไมหนังต้องเอาความโสดมาเล่น ทำไมโสดจะมีความสุขไม่ได้ ต้องมีคู่ตลอดเหรอ ตรงนี้เราว่าแล้วแต่คนจะมอง แต่เราว่า ผู้กำกับคนนี้คงจะมองอะไรร้ายๆพอสมควร บรรยากาศแปลกๆก็โผล่มาให้เห็น เช่นฉาก ที่พวก คนเหงาเต้นรำกลางป่า


ตัวละคร พระเอกมาเล่นบทนี้ เป็นชายเหงาๆ หน้าตาย ตรงนี้เราว่าตอบโจทย์บรรยากาศ plot มาก ตรงนี้เราว่าผู้กำกับเลือกคาแรกเตอร์เหมาะ พูดน้อยๆ แต่ให้เรารู้สึกเอง
สรุปชอบมากกว่า dog tooth เท่าตัวเลย

คะแนน  A